ประโยค ตอนที่ 2 ประโยคความซ้อน
ประโยคความเดียวเป็นประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว มีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว เช่น มีภาคประธานหนึ่งภาค ภาคแสดงหนึ่งภาค ดังนี้
เราอาจจะขยายความส่วนต่าง ๆ ของประโยคได้ดังนี้
ประโยค ฝนเมื่อวานนี้ตกหนัก
ส่วนขยาย ฝน คือ เมื่อวานนี้ เป็นกลุ่มนี้ (วลี)
ส่วนขยาย ตก หนัก เป็นคำ
ขอให้นักเรียนสังเกตประโยคนี้
ฝนซึ่งตกนอกฤดูตกหนักมาก
ส่วนขยาย ฝน คือ ซึ่งตกนอกฤดู (ฝนตกนอกฤดู) เป็นประโยค
ส่วนขยาย ตก คือ หนักมาก เป็นกลุ่มคำ (วลี)
จะเห็นได้ว่าในการขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยคนั้น
บางครั้งเราอาจจะนำ คำ กลุ่มคำ หรือ
ประโยคมาขยายประธาน ขยายกรรม
ขยายกริยา หรือ ขยายวิเศษณ์ ก็ได้
ในประโยคความเดียว ถ้าเรานำ คำ หรือ กลุ่มคำ (วลี)
มาขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยค ประโยคความเดียวนั้นก็ยังคง
เป็นประโยคความเดียวเหมือนเดิม
เพราะยังมีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว เช่น
ฝนเมื่อวานนี้ตกหนัก ใจความสำคัญยังคงเป็นเรื่อง ฝน
น้ำป่าไหลแรงมาก ใจความสำคัญยังคงเป็นเรื่อง น้ำไหล
ฟ้ายามนี้ร้องลั่น ใจความสำคัญยังคงเป็นเรื่อง ฟ้าร้อง
แต่ประโยค ฝนซึ่งตกนอกฤดูตกหนักมาก มีใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ มีใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ ฝนตกหนักมาก ฝนตกนอกฤดู ประโยค ฝนซึ่งตกนอกฤดูตกหนักมาก จึงไม่เป็นประโยคความเดียว
หรือ ประโยค ดารณีซึ่งเป็นลูกตำรวจเรียนเก่ง มีใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ ดารณีเรียนเก่ง ดารณีเป็นลูกตำรวจ ประโยค ดารณีซึ่งเป็นลูกตำรวจเรียนเก่ง จึงไม่เป็นประโยคความเดียว
หรือประโยค ฝนตกหนักจนร่มหัก มีใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ ฝนตกหนัก ร่มหัก ประโยค ฝนตกหนักจนร่มหัก จึงไม่เป็นประโยคความเดียว
หรือประโยค น้องมองดู แม่ครัวหุงข้าว มีใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ น้องใจความสำคัญ 2 เรื่อง คือ น้องมองดูแม่ครัว แม่ครัวหุงข้าว ประโยค น้องมองดูแม่ครัวหุงข้าว จึงไม่เป็นประโยคความเดียว
ขอให้นักเรียนสังเกตประโยคต่อไปนี้ ประโยค ฝนซึ่งตกนอกฤดูตกหนักมาก
ประโยคเดิม คือ ฝนตกหนักมาก
ประโยคใหม่ที่ซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ ซึ่งตกนอกฤดู หรือ ฝนตกนอกฤดู
ประโยค ดารณีซึ่งเป็นลูกตำรวจ เรียนเก่ง
ประโยคเดิม คือ ดารณีเรียนเก่ง
ประโยคใหม่ที่ซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ
ซึ่งเป็นลูกตำรวจ หรือ
ดารณีเป็นลูกตำรวจ
ประโยคฝนตกหนักจนร่มหัก
ประโยคเดิม คือ ฝนตกหนัก
ประโยคใหม่ ที่ซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ จนร่มหัก (จนเป็นคำเชื่อมประโยค)
ประโยค น้องมองดูแม่ครัวหุงข้าว
ประโยคเดิม คือ น้องมองดูแม่ครัว
ประโยคใหม่ ที่นำมาซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ แม่ครัวหุงข้าว
ประโยคใหม่ที่นำมาซ้อนลงในประโยคเดิมที่เรียกว่า ประโยคความซ้อน
นักเรียนเข้าใจลักษณะการซ้อนนี้หรือไม่ มองเห็นภาพหรือยัง
ประโยค น้องมองดูแม่หุงข้าว
ประโยคเดิม คือ น้องมองดูแม่ครัว
ประโยคใหม่ ที่นำมาซ้อนลงไปในประโยคเดิม คือ แม่ครัวหุงข้าว
ประโยค ฝนตกหนักจนร่มหัก
ประโยคเดิม คือ ฝนตกหนัก
ประโยคใหม่ที่ซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ จนร่มหัก (จนเป็นคำเชื่อประโยค)
ประโยคดารณีซึ่งเป็นลูกตำรวจเรียนเก่ง
ประโยคเดิม คือ ดารณีเรียนเก่ง
ประโยคใหม่ที่ซ้อนลงมาในประโยคเดิม คือ ซึ่งเป็นลูกตำรวจ หรือ ดารณีเป็นลูกตำรวจ
ประโยคใหม่ที่นำมาซ้อนลงไปในประโยคเดิมนี้เรียกว่า ประโยคความซ้อน
นักเรียนเข้าใจลักษณะการซ้อนนี้หรือไม่มองเห็นภาพหรือยัง
ถ้ายังมองไม่เห็นภาพ ครูขอสมมุติว่า ประโยคเดิม คือ ตระกร้าใบใหญ่ แล้วเรานำ ตะกร้าในเล็กซ้อนลงไปในตะกร้าใบใหญ่
ตะกร้าใบเล็กนี้เปรียบได้กับประโยคเล็กที่นำมาซ้อนลงไปในประโยคเดิม ประโยคเดิมหรือตะกร้าใบใหญ่ คือ ประโยคความเดียว เมื่อนำตะกร้าใบเล็กซ้อนหรือประโยคเล็กมาซ้อนลงไปเปลี่ยนประโยคเดิมเป็น ประโยคความซ้อนทันที เพราะมีใจความอื่น ซ้อนลงมาในประโยคเดิม เช่น นกที่มีปากแดง เกาะกิ่งไม้
ประโยคเดิม คือ นกเกาะกิ่งไม้
ประโยคที่นำมาซ้อน คือ ที่มีปากแดง (นกมีปากแดง)
ตัวอย่างเช่น
ฝนตกนอกฤดู ซ้อนเข้ามาในประโยค ฝนตกหนักมาก
ดารณีเป็นลูกตำรวจ ซ้อนเข้ามาในประโยค ดารณีเรียนเก่ง
จนร่มหัก ซ้อนเข้ามาในประโยค ฝนตกหนัก
แม่ครัวหุงข้า ซ้อนเข้ามาในประโยค น้องมองดูแม่ครัว
เหตุใดจึงต้องนำประโยคมาซ้อนกัน
เหตุเพราะ เวลาที่คนเราสื่อสารกัน เรามักจะบอกรายละเอียดของสิ่งที่เราพูดถึงหรือเขียนถึง ถ้ารายละเอียดนั้นเป็นเพียงคำ หรือ กลุ่มคำ (วลี) ใจความสำคัญจะมีเพียงเรื่องเดียว แต่ถ้าส่วนขยายนั้นเป็นประโยค จะมีใจความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง นี่เองที่ทำให้มีประโยคความซ้อนในภาษาไทย
การเรียนเรื่องประโยคความซ้อนเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ยังมีนักเรียนจำนวนมากที่เรียนไม่เข้าใจ นั่นเป็นเพราะ นักเรียนไม่ทราบว่า การซ้อนประโยคนั้นซ้อนกันอย่างไร และซ้อนเพื่ออะไร นักเรียนจะงงว่าที่ต้องท่องนำว่า มุขยประโยคและอนุประโยคนั้น คืออย่างไรกันแน่ เอาเป็นว่า เรียนรู้วิธีการซ้อนและศึกษาเหตุผลในการซ้อนก่อน แล้วค่อยไปนำกฎเกณฑ์ทีหลัง จะเข้าใจได้ อย่างไม่มีวันลืม ตอนนี้เข้าใจหรือยัง ถ้าเข้าในแล้ว ครูจะให้ดูตัวอย่างประโยคความซ้อนต่อไปนี้
ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยคมี 3 ชนิด คือ
1. คุณานุประโยค ทำหน้าที่ขยายคำนามและคำสรรพนาม
2. วิเศษณานุประโยค ทำหน้าที่ขยายคำกริยาและคำวิเศษณ์
3. นามานุประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และส่วนเติมเต็ม
ประโยคที่นำมาขยายกริยาหรือคำวิเศษณ์มีคำศัพท์เรียกว่า วิเศษณานุประโยค
ฝนตกจนน้ำท่วม
ประโยคน้ำท่วม ขยายคำกริยา ตก (จน เป็นคำเชื่อมประโยค)
เขาเดินจนเขาอ่อนเพลีย
ประโยค เขาอ่อนเพลีย ขยายคำกริยา เดิน (จน เป็นคำเชื่อประโยค)
เขาทำตามพี่บอก
ประโยค พี่บอก ขยายคำกริยา ทำ (ตาม เป็นคำเชื่อมประโยค)
เธอมาหาเพื่อนเมื่อเพื่อนสอบเสร็จ
ประโยค เพื่อนสอบเสร็จ ขยายคำกริยา มาหา (เมื่อ เป็นคำเชื่อมประโยค)
เขาร้องเพลงเก่งจนเขาได้รับคำชม
ประโยค เขาได้รับคำชม ขยายคำวิเศษณ์ เก่ง (จน เป็นคำเชื่อมประโยค)
วารินทำงานมากจนกระทั่วเขาไม่มีเวลาให้ลูก
ประโยค เขาไม่มีเวลาให้ลูก ขยายคำวิเศษณ์ มาก (จนกระทั่ง เป็นคำเชื่อมประโยค)
ฝนตกหนักจนร่มหัก
ประโยค ร่มหัก ขยายคำวิเศษณ์ หนัก (จน เป็นคำเชื่อมประโยค)
ประโยคที่นำมาซ้อนในตำแหน่งของประธาน กรรมและส่วนเติมเต็มนี้ มีคำศัพท์เรียกว่า นามานุประโยค
นักเรียนหิ้วกระเป๋าข้ามถนน
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ นักเรียนข้ามถนน
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ นักเรียนหิ้วกระเป๋า ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
คุณหมอจดรายการสั่งซื้อยา
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ คุณหมอสั่งซื้อยา
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ คุณหมอจดรายการ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
แม่ครัวหั่นผักทำกับข้าว
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ แม่ครัวทำกับข้าว
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ แม่ครัวหั่นผัก ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
น้องช่วยเพื่อนทำของเล่น
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ น้องช่วยเพื่อน
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ เพื่อทำของเล่น ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
ครูใหญ่ช่วยนักเรียนยากจน
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิมคือ ครูใหญ่ช่วยนักเรียน
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ นักเรียนยากจน ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
ครูฮวดเป็นครูสอนภาษาไทย
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ ครูฮวดเป็นครู
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ ครูสอนภาษาไทยทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค
ประโยคที่นำมาซ้อนในตำแหน่งของประธาน กรรม และส่วนเติมเต็มนี้ มีคำศัพท์เรียกว่า นามานุประโยค
ประโยคความซ้อนมีคำศัพท์เรียกว่า สังกรประโยค
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิมเรียกว่า มุขยประโยค (มุขย แปลว่า เป็นใหญ่)
ประโยคที่นำมาซ้อนลงไปในประโยคเดิม เรียกว่า อนุประโยค (อนุ แปลว่า น้อย)
ทบทวน
ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยคมี 3 ชนิดคือ
1. คุณานุประโยค ทำหน้าที่ขยายคำนามและคำสรรพนาม
2. วิเศษณานุประโยค ทำหน้าที่ขยายคำกริยา และคำวิเศษณ์
3. นามานุประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และส่วนเติมเต็ม
ประโยคความซ้อนมี 3 ชนิด
ประโยคความซ้อนชนิดที่ 1 คือ การนำประโยคใหม่มาซ้อนลงไปในประโยคใหญ่ หรือประโยคเดิมเพื่อขยายคำนามและคำสรรพนาม
ประโยคความซ้อนที่ทำหน้าที่ขยายคำนามและคำสรรพนามนี้มีศัพท์เรียกว่า คุณานุประโยค
ตัวอย่าง ประโยคความซ้อน ชนิดคุณานุประโยค
1. ดารณีซึ่งเป็นลูกตำรวจเรียนเก่ง
ประโยค ซึ่ง (ดารณี) เป็นลูกตำรวจ ขยายคำนาม ดารณี
2. กระต่ายที่นอนในตะกร้าเป็นกระต่ายของพลอย
ประโยคที่ (กระต่าย) นอนในตะกร้า ขยายคำนาม กระต่าย
3. ฉันชอบโรงเรียนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ประโยคที่ (โรงเรียน) อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขยายคำว่า โรงเรียน
4. โรงพยาบาลศิริราชซึ่งเป็นโรงพยาบาลใหญ่อยู่บางกอกน้อย
ประโยค ซึ่ง (โรงพยาบาลศิริราช) เป็นโรงพยาบาลใหญ่ ขยายคำนาม โรงพยาบาลศิริราช
ประโยคความซ้อนชนิดที่ 2 คือ การนำประโยคใหม่มาซ้อนลงไปในประโยคใหญ่ คือ ประโยคเดิม เพื่อขยายคำกริยาหรือคำวิเศษณ์
1. เขาเดินจนอ่อนเพลีย
ประโยค เขาอ่อนเพลีย ขยายคำกริยา เดิน (จนเป็นคำเชื่อมประโยค)
2. ฝนตกจนน้ำท่วม
ประโยค น้ำท่วม ขยายคำกริยา ตก (จนเป็นคำเชื่อมประโยค)
3. เขาทำตามพี่บอก
ประโยค พี่บอก ขยายคำกริยา ทำ (ตาม เป็นคำเชื่อมประโยค)
4. เธอมาหาเพื่อนเมื่อเพื่อนสอบเสร็จ
ประโยค เพื่อนสอบเสร็จ ขยายคำกริยา มาหา (เมื่อ เป็นคำเชื่อมประโยค)
ประโยคความซ้อนชนิดที่ 3 คือ การนำประโยคใหม่มาซ้อนลงไปในประโยคใหญ่ หรือ ประโยคเดิมในตำแหน่งของประธาน กรรม หรือส่วนเติมเต็มของประโยค (ทำหน้าที่เหมือนคำนาม)
1. นักเรียนหิ้วกระเป๋าข้ามถนน
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ นักเรียนข้ามถนน
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ นักเรียนหิ้วกระเป๋า ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
2. คุณหมอจดรายการสั่งซื้อยา
ประโยคใหญ่หรือประโยคเดิม คือ คุณหมอสั่งซื้อยา
ประโยคที่นำมาซ้อนคือ คุณหมอจดรายการ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค