การสร้างคำ ตอนที่ 2 คำประสม คำซ้อน
คำประสม หมายถึง การนำเอาคำมูลตั้งแต่ 2 คำมารวมกันเป็นคำใหม่ การประสมคำนี้ทำให้เกิดถ้อยคำใช้ในภาษาไทยมากขึ้น
หลักคำประสม
คำที่จะนำมาประสมกันนั้น
จะเป็นคำในภาษาใดก็ได้ แต่ส่วนมากจะเป็นคำไทยกับคำไทย ตัวอย่างเช่น คำไทย+คำไทย
เช่น ลูกบ้าน แม่สื่อ พ่อตา น้องชาย ดาวตก
คำประสมจำแนกได้ตามโครงสร้างของคำที่มาประสมกันดังนี้
1.คำนามเป็นคำหลักและวางอยู่หน้าคำที่นำมาประสม
2.คำกริยาเป็นคำหลักและวางอยู่หน้าคำที่นำมาประสม
3.คำวิเศษณ์เป็นคำหลักและวางอยู่หน้าคำที่นำมาประสม
คำนามเป็นคำหลักวางอยู่หน้าคำประสม
ที่เป็นคำนาม โดยคำที่นำมาประสมนั้นอาจเป็นคำนาม คำกริยา หรือ คำวิเศษณ์ ก็ได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- นาม+นาม เช่น เงินเดือน ปากกา ดินปืน รถไฟ หัวใจ
- นาม+กริยา เช่น น้ำตก ลูกเลี้ยง โรงเรียน บ้านเช่า
ไฟฉาย
- นาม+วิเศษณ์ เช่น ครูใหญ่ แกงเผ็ด ตู้เย็น ดาวเทียม น้ำแข็ง
- นาม+บุพบท เช่น เครื่องใน หมอนข้าง ของกลาง บ้านนอก
ความหลัง
- นาม+กริยา+นาม เช่น ห้องพักครู เครื่องดูดฝุ่น
ช่างตัดเสื้อ คนขับรถ
การประสมคำเพื่อให้เป็น
คำประสมที่มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.เกิดป็นคำใหม่ที่มีความหมายคล้ายคำมูลเดิม
ตัวอย่างเช่น แม่+บ้าน แม่บ้าน ความหมาย
หญิงผู้จัดการงานในบ้าน
2.เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความมหายแตกต่างจากคำมูลเดิม ตัวอย่างเช่น
ลูก+น้อง ลูกน้อง ความหมาย ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้อยู่ในปกครอง
3.เป็นการนำคำที่เป็นการย่อข้อความยาว ๆ มาประสม แต่เดิมที่มีความหมายหนึ่งให้เป็นคำที่ใช้เฉพาะมาประสมกับคำอื่นตัวอย่างเช่น
ผู้ชำนาญการฝีมืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างทอง
ช่างไม้ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างสิบหมู่
กลุ่มที่มีอาชีพเดียวกัน เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่
ชาวไทย ชาวประมง
กลุ่มคนที่มีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักเรียน
นักร้อง นักพูด นักบิน นักสือ
แหล่ง ถิ่น หรือ สถานที่ เช่น ที่พัก ที่นอน ที่หมาย
ที่ทาง ที่ประทับ
คนที่ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผู้นำ ผู้ดี
ผู้ต้องหา ผู้อำนวยการ
ผู้รู้หรือผู้ชำนาญการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมอนวด
หมอฟัน หมอขวัญ หมอดู หมอลำ
4.เกิดจากการนำเอาคำการ ครือ ความ มาประสม นำหน้าคำนาม คำกริยา หรือ คำวิเศษณ์ ตัวอย่างเช่น
การเรียน การเล่น การคลัง การบ้าน การเมือง การเขียน ความชั่ว ความบริสุทธิ์ ความสะอาด
คำซ้อน
เป็นคำประสมที่เกิดจากการนำคำที่มีความหมายคล้ายกัน
หรือตรงกันข้ามมาประสมกัน เมื่อประสมกันแล้วจะช่วยขยายความของกันและกัน
และอาจจะมีเสียงที่กลมกลืนหรือคล้องจองกัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
คำซ้อนที่เน้นเรื่องการขยายความหมายของกันและกัน หรือเรียกว่าคำซ้อนเพื่อความหมาย แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
ก.คำซ้อนที่ความมหายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เช่น กีดขวาง ปิดบัง ขัดแย้ง คัดเลือก ใช้จ่าย ดูแล ทุบตี ทิ้งขว้าง ปิดบัง ดูดดื่ม ใหญ่โต อุ้มชู แกว่งไกว เหี่ยวแห้ง นุ่มนวล เสื่อสาด โกรธแค้น เล็กน้อย วัดวาอาราม ภูตผีปีศาจ ก่อร่างสร้างตัว เป็นต้น
ข.คำซ้อนที่ความหมายตรงกันข้าม เช่น ชั่วดี ถี่ห่าง ดีร้าย อ้วนผอม ยากง่าย ผิดถูก มากน้อย หน้าหลัง เท็จจริง ตื้นลึกหน้าบาง สูงต่ำดำขาว บาปบุญคุณโทษ เป็นต้น
คำซ้อนที่มีเสียงสัมผัสคล้องจอง หรือเรียกว่า คำซ้อนเพื่อเสียง ได้แก่คำซ้อนที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน หรือมีสระเสียงเดียวกัน แต่จะมีความหมายเพียงคำเดียวเท่านั้น เช่น งอแง จู้จี้ ซอกแซก ปุ่ป่ะ โผงผาง รุ่มร่าม อวบอิ่ม โลเล โวยวาย เอะอะ อุ้ยอ้าย เปรี้ยงปร้าง คลอนแคลน มากมายก่ายกอง สวิงสวาย อินังขังขอบ เตลิดเปิดเปิง เป็นต้น