การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมช่วยให้สถาปนิกสามารถทำงานในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้ร่วมงานในเรื่องความปลอดภัยและความมีมาตรฐานในการก่อสร้าง ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่หรือโครงการภาครัฐที่ต้องการสถาปนิกที่มีใบอนุญาต
งานทางสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นอีกสายงานที่ละเอียดมากๆ จึงต้องมีใบอนุญาตด้วย เรียกว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หรือ ใบ ก.ส. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก ได้แก่สาขา
1. สาขาสถาปัตยกรรมหลัก รับผิดชอบ การออกแบบอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิก
2. สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง รับผิดชอบการออกแบบวางผังกลุ่มอาคาร ผังชุมชน ผังเมือง ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า สถาปนิกผังเมือง
3. สาขาภูมิสถาปัตยกรรม รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า ภูมิสถาปนิก
4. สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ รับผิดชอบการออกแบบวางผังพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ซึ่งจะเรียกผู้ประกอบวิชาชีพนี้ว่า มัณฑนากร
ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2549) ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม หากไม่มีใบประกอบวิชาชีพแล้วประกอบวิชาชีพ จะมีบทลงโทษ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สถาปนิก (2543) [4] จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.งานศึกษาโครงการ
2.งานออกแบบ
3.งานบริหารและอำนวยการก่อสร้าง
4.งานตรวจสอบ
5.งานให้คำปรึกษา
ปัจจุบันผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าว หากประสงค์ต้องการใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องสอบขอรับใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งสภาสถาปนิกจะมีการจัดสอบปีละ 3 ครั้ง หลังจากสอบผ่านจะมีการอบรมก่อนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และหากมีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น ก็สามารถนำผลงานยื่นขอเลื่อนระดับและสอบสัมภาษณ์ โดยเริ่มจากระดับดังนี้
1. ภาคีสถาปนิก (Associate Architect)
2. สามัญสถาปนิก (Professional Architect)
3. วุฒิสถาปนิก (Senior Architect)