การเจรจาเงินเดือนไม่ใช่แค่เรื่องของ "ตัวเลข" เท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนถึงความเข้าใจในคุณค่า ความสามารถ และการเตรียมตัวของคุณ ผู้สัมภาษณ์สามารถสังเกตได้ทันทีว่าผู้สมัครมีความพร้อมแค่ไหนจากวิธีตอบคำถามนี้
คำตอบแบบนี้แสดงให้เห็นถึงการไม่กล้าตัดสินใจ และไม่รู้มูลค่าของตัวเอง แนะนำให้ศึกษาเงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่งนั้น ๆ และตอบเป็นช่วงที่เหมาะสม เช่น “ดิฉันคาดหวังเงินเดือนในช่วง 20,000 – 24,000 บาทค่ะ”
หลายคนมักตอบตาม “ความต้องการส่วนตัว” มากกว่าความเป็นจริง เช่น “อยากได้เงินเดือน 30,000 เพราะค่าใช้จ่ายเยอะ” ซึ่งอาจทำให้ถูกมองว่าไม่เข้าใจตลาดแรงงาน
สิ่งที่ควรทำ : เช่น “จากการศึกษาข้อมูลเงินเดือนของตำแหน่งนี้ และทักษะที่มี ดิฉันคาดหวังเงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 22,000 – 25,000 บาทค่ะ”
แม้เราจะไม่เคยทำงานมาก่อน การแสดงความไม่รู้เลยจะทำให้ผู้สัมภาษณ์มองว่าเรายังไม่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน เราควรเตรียมข้อมูลล่วงหน้า เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเริ่มทำงาน
เช่น “ค่าเช่าหอแพง”, “มีหนี้การศึกษา” เป็นต้น แม้เป็นเรื่องจริงแต่ไม่ควรใช้เป็นเหตุผลหลักในการขอเงินเดือน เพราะบริษัทจะประเมินจากทักษะและความเหมาะสมกับตำแหน่งมากกว่า
การเจรจาเงินเดือนควรเป็นการสื่อสารแบบมืออาชีพ ไม่ใช่การต่อสู้ เช่น หลีกเลี่ยงคำพูดว่า “ถ้าไม่ได้ 25,000 ก็ไม่ทำ” ซึ่งอาจทำให้เราดูเหมือนเป็นคนยึดติดและไม่ยืดหยุ่นในการทำงานได้
เด็กจบใหม่ควรชูจุดเด่นในความยืดหยุ่น การเรียนรู้เร็ว และความกระตือรือร้น มากกว่าจะโฟกัสที่ค่าตอบแทนอย่างเดียว
การเจรจาเงินเดือนไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่ควรสนใจเรื่อง สวัสดิการ โบนัส หรือโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราวางแผนอนาคตกับบริษัท
- ศึกษาเงินเดือนเฉลี่ยจากเว็บไซต์จัดหางาน เช่น JobsDB, JobThai เป็นต้น
- ลองฝึกซ้อมตอบคำถามกับเพื่อนหรือหน้ากระจก ประมาณ 1 - 2 ครั้ง
- เตรียมเหตุผลที่รองรับอย่างสมเหตุสมผล กับตัวเลขที่เสนอ
- มีความยืดหยุ่น พร้อมเปิดโอกาสให้พูดคุยเพิ่มเติม