เงินเดือนแรกไม่ได้เป็นเพียงแค่จำนวนตัวเลขที่ได้รับในแต่ละเดือนเท่านั้น แต่ยังเป็น “ฐานเงินเดือน” ที่มีผลต่อการพิจารณาขึ้นเงินเดือน โบนัส และการสมัครงานในอนาคตอีกด้วย หากเริ่มต้นด้วยเงินเดือนที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำงาน และทำให้สามารถวางแผนการเงินส่วนตัวได้อย่างมั่นคง
ศึกษาข้อมูล “เงินเดือนเฉลี่ยของเด็กจบใหม่” ในสายงานของเราเอง เช่น วิศวกร อาจมีเงินเดือนเริ่มต้นตั้งแต่ 18,000 – 25,000 บาท ส่วนสายงานสายศิลป์หรือครีเอทีฟ อาจอยู่ที่ 15,000 – 20,000 บาท
หากมีประสบการณ์ฝึกงานจริง หรือเคยมีผลงานในการแข่งขัน การทำโปรเจกต์ ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียกเงินเดือนที่สูงขึ้นได้อีก
ถ้าเรามีทักษะเฉพาะทาง เช่น การใช้โปรแกรมเฉพาะสายงาน ความสามารถทางภาษา หรือใบรับรองวิชาชีพเฉพาะทาง นั่นเป็นแต้มต่อที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเงินเดือนเริ่มต้น
กรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจต้องการเงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่าจังหวัดอื่น เพราะค่าครองชีพที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าเรื่องค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ในส่วนนี้ควรเอามาพิจารณาเพิ่มด้วย
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคือ “ทัศนคติ” ของเราเอง ในการพูดคุยเรื่องเงินเดือนกับฝ่ายบุคคล หากสามารถอธิบายเหตุผลของตัวเลขที่เสนอได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล จะช่วยให้บริษัทเห็นว่าเรามีความพร้อมและมืออาชีพ
- วิศวกรรม เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 20,000 – 25,000 บาท
- การตลาด เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 18,000 – 22,000 บาท
- ไอที/โปรแกรมเมอร์ เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 20,000 – 30,000 บาท
- กฎหมาย เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 18,000 – 24,000 บาท
- ศิลปะ/ออกแบบ เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 15,000 – 20,000 บาท
- พนักงานทั่วไป เงินเดือนเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 13,000 – 18,000 บาท
แม้จะอยากได้งาน แต่การยอมรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากเกินไปอาจทำให้ตัวเราถูกมองว่าขาดความมั่นใจ และส่งผลกระทบระยะยาวต่อการเติบโตของรายได้ในอนาคต ควรเลือกตัวเลขที่ “สมเหตุสมผล” และสามารถอธิบายได้อย่างมีหลักการ
- ขึ้นอยู่กับสายงาน ประสบการณ์ ค่าครองชีพ และความสามารถของตัวเราเอง
- ควรศึกษาอัตราเงินเดือนเฉลี่ยจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ JobThai.com, jobsdb.com
- เตรียมตัวเจรจาเงินเดือนด้วยความมั่นใจ และมีเหตุผล
- หลีกเลี่ยงการตั้งเงินเดือนต่ำกว่าตลาด หากไม่มีเหตุผลชัดเจน