คือสาขาหนึ่งของทันตกรรมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกับการแก้ไขฟัน และขากรรไกรที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ฟันยื่นและฟันที่ขบกันไม่พอดีจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรเนื่องมาจากฟันผุและโรคเหงือก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการกดทับต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ อาการปวดที่ข้อต่อขากรรไกร คอ ไหล่ และหลังได้ ฟันที่ยื่นหรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก็ยังทำลายบุคลิกภาพอีกด้วย
ฟันบนยื่น — ฟันบนยื่นออกมาข้างหน้ามาก
ฟันล่างยื่น —ฟันล่างยื่นออกมาข้างหน้ามาก
ฟันกัดคร่อม — ฟันบนไม่สามารถขบได้พอดีกับฟันล่าง มีลักษณะขบแบบไขว้
ฟันสบเปิด — เมื่อขบฟันและแล้วมีช่องว่างเปิดระหว่างฟันบนกับฟันล่าง
ฟันกัดเบี้ยว — จุดศูนย์กลางของฟันบนไม่ตรงกับฟันล่าง
ฟันห่าง — มีช่องว่างระหว่างฟันอันเกิดจากฟันหลุดหรือฟันที่ขึ้นไม่เต็ม
ฟันซ้อน — ฟันที่ขึ้นมามากเกินไปจนเกทับกัน
เหล็กดัดฟัน — เป็นวิธีการที่พบมากที่สุด ประกอบด้วยยาง ลวด หรือเหล็ก โดยยางจะติดรอบฟันโดยใช้เป็นตัวยึดของอุปกรณ์ ส่วนเหล็กจะถูกเชื่อมติดกับด้านหน้าของฟัน เส้นลวดจะถูกร้อยผ่านแต่ละเหล็กและยึดติดกับยาง การดึงลวดให้ตึงขึ้นจะเป็นการเพิ่มแรงดึงที่ตัวฟัน และค่อย ๆ เคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม เหล็กดัดฟันจะมีการปรับทุก ๆ เดือนเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ ซึ่งเวลาที่ใช้ในการจัดฟันอาจเริ่มตั้งแต่ 2-3 เดือน จนถึง 2-3 ปี ปัจจุบันนี้ เหล็กจัดฟันมีขนาดเล็กลง เบาลง และดูไม่เป็นโลหะเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังมีสีสันสดใสสำหรับเด็ก และแบบใสที่ผู้ใหญ่นิยมใช้อีกด้วย
อุปกรณ์ติดถาวรแบบพิเศษ — สำหรับใช้ควบคุมการดูดนิ้ว หรือการใช้ลิ้นดัน โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะถูกติดกับฟันด้วยยาง เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่สะดวกสบาย จึงมักจะใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย
อุปกรณ์รักษาช่องว่างของฟันแบบถาวร — กรณีที่ฟันน้ำนมหลุดป็นการถาวร อุปกรณ์รักษาช่องว่างจะถูกใช้จนกว่าฟันแท้จะขึ้น โดนจะใส่ยางติดกับฟันซี่ถัดจากช่องว่างด้านหนึ่ง และลวดจะต่อเข้ากับฟันซี่ถัดจากช่องว่างอีกด้านหนึ่ง
เครื่องจัดฟันแบบใส — เป็นทางเลือกสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่อยากใส่เหล็กจัดฟันแบบถาวร โดยเครื่องมือนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยสามารถดัดฟันได้เช่นเดียวกับเหล็กจัดฟันแบบถาวร เพียงแต่ไม่มีลวดและเหล็ก โดยอุปกรณ์นี้จะมองไม่เห็นเวลาใส่ และสามารถถอดออกได้เวลารับประทานอาหาร แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน
อุปกรณ์รักษาช่องว่างของฟันแบบถอดได้ — อุปกรณ์นี้ทำงานเช่นเดียวกับอุปกรณ์รักษาช่องว่างของฟันแบบถาวรโดยทำจากอะคริลิคที่ขนาดพอดีกับขากรรไกร และมีพลาสติกหรือลวดระหว่างฟันที่ต้องการรักษาช่องว่างไว้
อุปกรณ์จัดตำแหน่งของขากรรไกร — อุปกรณ์นี้สามารถใส่จากขากรรไกรบนหรือล่างก็ได้ เพื่อที่จะจัดตำแหน่งของขากรรไกรให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม เพื่อใช้แก้ไขอาการข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ
อุปกรณ์ป้องกันริมฝีปากและแก้ม — อุปกรณ์นี้ไว้ใช้สำหรับกันริมฝีปากและแก้มออกจากฟัน เนื่องจากริมฝีปากและแก้มสามารถสร้างแรงกดทับที่ฟัน ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยลดแรงกดทับ
เครื่องมือขยายขากรรไกร — อุปกรณ์นี้จะช่วยขยายขากรรไกรบน โดยมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกที่ติดพอดีกับเพดานปาก และใช้แรงดันจากภายนอกด้วยการขันสกรูจะบังคับให้ข้อต่อขากรรไกรเปิดกว้างขึ้น
รีเทนเนอร์ (Removable retainers) — เครื่องมือนี้จะถูกใส่ที่เพดานปากเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันกลับไปยังจุดเดิม โดยอาจถูกดัดแปลงเพื่อป้องกันการดูดนิ้วได้ด้วย
เครื่องมือจัดฟันภายนอก — เครื่องมือนี้จะมีสายรัดรอบศรีษะ และต่อเข้ากับลวดด้านหน้า โดยเครื่องมือนี้จะช่วยชะลอการเติบโตของขากรรไกรบน และรักษาฟันด้านในในอยู่ในตำแหน่งเดิมในขณะที่ฟันด้านหน้าจะถูกดึงเข้ามา
- แก้ไขปัญหาการสบฟันผิดปกติ
เช่น ฟันซ้อนเก ฟันห่าง หรือฟันสบลึก
- ช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุและเหงือกอักเสบ
เพราะการจัดฟันทำให้การทำความสะอาดฟันง่ายขึ้น
- เพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม
ฟันที่เรียงตัวสวยช่วยให้บุคลิกภาพดูดีขึ้น
แหล่งข้อมูล