คือ การประยุกต์หลักการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีการประสมประสานกันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตลอดทั้งการสร้างสรรค์และเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยเน้นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้หรือวัดได้ และมีความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการ คือ
พัฒนามาจากหลักการเดียวกันคือจากหลักการเรียนรู้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายและระบบประสาท
โดยหลักการเรียนรู้เช่นเดียวกัน หลักการปรับพฤติกรรมส่วนใหญ่พัฒนามาจากทฤษฎีการเรียนรู้ที่ 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขสิ่งเร้า (Classical conditioning)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม (Operant conditioning)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขการสังเกต (Observational conditioning)
โดยที่พฤติกรรมนั้นจะต้องสังเกตเห็นได้ และวัดได้ตรงกัน สิ่งที่บุคคลกระทํา แสดงออก ตอบสนองหรือโต้ตอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง เช่น การร้องไห้ การเดิน การคิด การเต้นของชีพจร การอ่านหนังสือ
เช่น ก้าวร้าว ฉลาด โง่ เกเร ขี้เกียจ เก่ง เพราะคําตีตราเหล่านี้มักจะเป็นคําที่มีความหมายกว้าง ๆ ที่รวมพฤติกรรมหลาย ๆ ลักษณะเข้าด้วยกัน จึงทําให้ไม่ชัดเจนยากแก่การสังเกตให้ตรงกัน เนื่องจากต่างคนต่างรับรู้คําตีตรานี้ต่างกัน และยากแก่การจัดโปรแกรมการปรับพฤติกรรมให้บรรลุเป้าหมายได้
ยอมเกิดจากการเรียนรู้ในอดีตทั้งสิ้น ดังนั้นพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
แม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นในอดีตก็ตาม แต่เงื่อนไขสิ่งเร้าและผลกรรมในสภาพปัจจุบันเป็นตัวกําหนดว่าพฤติกรรมที่เรียนรู้ในอดีตนั้น จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือลดลง ดังนั้นถ้าสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งเร้าและผลกรรมใดที่ทําให้พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือลดลงในสภาพปัจจุบันก็จะสามารถทําให้ปรับสิ่งเร้า และผลกรรมนั้นได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทําให้พฤติกรรมดังกล่าวนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล เนื่องจากเป้าหมายของการปรับพฤติกรรมนั้นจะเน้นที่การเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เพิ่มขึ้น วิธีการทางบวกเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์น้อยกว่าการใช้วิธีการลงโทษอีกด้วย
ตามลักษณะปัญหาของแต่ละบุคคล เนื่องจากมีความเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน การลงโทษวิธีหนึ่งอาจจะใช้ได้ผลกับคน ๆ หนึ่ง แต่อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับอีกหลาย ๆ คนได้ ดังนั้นในการดําเนินการปรับพฤติกรรมจึงต้องคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
- พัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยให้คุณสามารถจัดการกับนิสัยที่ไม่ส่งผลดีต่อเป้าหมายในชีวิต เช่น การเลิกนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง
- ลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิต
เมื่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลดลง คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น เช่น การปรับพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม ส่งผลให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
การปรับพฤติกรรม เช่น การสื่อสารที่ดีกับผู้อื่น จะช่วยลดความขัดแย้งและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
- เพิ่มความมั่นใจในตนเอง
เมื่อคุณสามารถปรับปรุงพฤติกรรมที่เคยเป็นอุปสรรค คุณจะมีความมั่นใจในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคต
แหล่งข้อมูล