เป็นวิชาประยุกต์สาขาหนึ่ง มุ่งศึกษาวิเคราะห์ประเมิน แสวงหาและสร้างแนวคิดอันเป็นสัจจะทางการเมือง อีกนัยหนึ่ง ปรัชญาการเมือง เป็นวิชาว่าด้วยความคิดเกี่ยวกับการตีความ การสร้างและกำหนดสิทธิ หน้าที่ ตลอดถึงความสัมพันธ์แบบฉบับ ในการดำเนินชีวิตร่วมกันของมนุษย์ ยิ่งกว่านี้ยังเป็นวิชาว่าด้วยโครงร่างทางความคิด และความเชื่อถือที่ถือเป็นสูตรทางการเมืองพร้อมกับการให้เหตุผล วิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางสร้างสถาบัน อุดมคติ นโยบาย และวัตถุประสงค์ทางการเมือง
เป็นความพยายามศึกษาถึงธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ความถูกต้องเหมาะสม ความดีงามของระเบียบทางการเมือง ตลอดจนเป็นความพยายามคิดค้นหาแนวความคิดมาชี้นำกำหนดความดีขึ้น หรือ เลวลงของการกระทำ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การเปลี่ยนแปลงกับความต่อเนื่องหรือความมีเสถียรภาพของสังคมการเมือง ทั้งยังเห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์การครุ่นคิด คำนึง การเสวนา การแสวงหาในแนวทางเช่นว่านั้น จะเป็นวิธีที่พัฒนายกระดับทางศีลธรรมให้สูงขึ้น โน้มนำไปสู่การมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น
โดยมีโสเครตีส เป็นผู้เริ่มต้น และสืบทอดผ่านมาทางเพลโตและอริสโตเติลตามลำดับ สาระสำคัญของปรัชญาการเมืองคลาสสิกก็คือ เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อดำรงรักษา และ พัฒนาชุมชนขนาดเล็กให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปกครองตนเอง มีเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ มีความสำเร็จในการจัดองค์การทางการเมืองการปกครอง ทางเศรษฐกิจและสังคม ความสำเร็จเหล่านี้นับเป็นปรากฎการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษยชาติ
ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อผลของศาสนาคริสต์ที่แตกแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังปฏิเสธโครงร่างปรัชญาการเมืองคลาสสิกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันนี้ฐานะของปรัชญาการเมืองค่อนข้างจะได้รับความสนใจและเอาใจใส่น้อยลงหรือตกต่ำลง ทั้งนี้ก็เพราะสังคมศาสตร์ (Social Science) ได้ยอมรับเอาข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์มาเป็นข้ออ้างและบรรทัดฐานของตน กล่าวคือสังคมศาสตร์ ปัจจุบันถือว่า ความรู้ทางสังคมศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์อย่างทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Knoredge) เท่านั้นที่เป็นความรู้อย่างแท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ความรู้ทางสังคมศาสตร์ต้องเป็นความรู้ที่อาจมีการพิสูจน์ หรือทดลองอย่างใดอย่างหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ สังคมปัจจุบันถือว่า ความเห็นของโสเครตีสในเรื่องของความดี ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ล้วนแต่เป็นเรื่องซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวหรือแน่นอนคงที่และไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นจริงได้โดยหลักเกณฑ์แบบวิทยาศาสตร์ หลักการของปรัชญาเมธีไม่ว่าจะเป็นโสเครตีส เพลโต หรืออริสโตเติล ก็เป็นเสมือนเพียงระบบค่านิยม ในบรรดาค่านิยมทั้งหลายเหล่านั้น
- สร้างกรอบความคิดในการปกครอง
ปรัชญาการเมืองช่วยกำหนดทิศทางของนโยบายรัฐและการบริหารงาน เช่น แนวคิดของประชาธิปไตยที่เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หรือแนวคิดสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมในสังคม
- แก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง
หลักการทางปรัชญาการเมืองช่วยวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเมือง เช่น ความขัดแย้งทางชนชั้น ความไม่เท่าเทียม หรือการคอร์รัปชัน
- กระตุ้นการคิดเชิงวิพากษ์
ปรัชญาการเมืองกระตุ้นให้ผู้คนตั้งคำถามกับสถานะที่เป็นอยู่ และพิจารณาว่าระบบการเมืองปัจจุบันตอบสนองต่อความต้องการของสังคมหรือไม่
แหล่งข้อมูล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง