จริยศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ที่ศึกษาเกี่ยวกับ “คุณค่า” การกระทำของมนุษย์ โดยมีเหตุผลเป็นพื้นฐานในการโต้แย้ง อีกนัยหนึ่ง “จริยศาสตร์ คือวิชาที่ใช้วิธีการทางปรัชญา (การใช้เหตุผล) ศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรม”
จริยศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด สิ่งที่ควรเว้น สิ่งที่ควรทำ หมายถึง The science of morals ; the principles of morality ; rules of conduct and behaviour
แปลว่า ศาสตร์ที่ว่าด้วยศีลธรรม หลักศีลธรรม กฎที่ว่าด้วยความประพฤติและพฤติกรรม
เป็นการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาอธิบาย ปรากฏการณ์ต่างๆพบได้จากพวกมานุษยวิทยานักประวัติศาสตร์นักสังคมวิทยา เป็นต้น
โดยอาศัยฐานข้อมูลจากที่รวบรวมได้ นักจริยศาสตร์จะทำการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่า อะไรคือความดี – ชั่ว มีเกณฑ์อะไรในการตัดสินการกระทำว่าถูกว่าผิด เรียกว่าเป็น จริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน (normative ethics) เป็นการศึกษาที่นิยมกันมานานในการศึกษาจริยศาสตร์
การศึกษาแบบนี้เป็นการนำเกณฑ์บรรทัดฐานมาวิเคราะห์ว่า ดี ชั่ว นั้น สามารถนิยามได้หรือไม่ การศึกษาแบบนี้เป็นที่นิยมในราวกลางศตวรรษที่ยี่สิบที่เรียกว่าอภิจริยศาสตร์
- เป็นกรอบแนวทางในการตัดสินใจ
จริยศาสตร์ช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างมีหลักการและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดศีลธรรม
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ในสังคม
การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมช่วยสร้างความไว้วางใจและความยุติธรรมในชุมชน
- พัฒนาบุคลิกภาพและคุณธรรมส่วนบุคคล
ผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมมักได้รับความเคารพและเป็นที่ยอมรับในสังคม
วิชาจิตวิทยาให้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของจิตและพฤติกรรมมนุษย์ วิชานี้จึงเป็นพื้นฐานของวิชาจริยศาสตร์ แต่จิตวิทยามีขอบเขตที่กว้างกว่าจริยศาสตร์ เพราะศึกษาทั้งความรู้ ความรู้สึกและเจตจำนง ส่วนจริยศาสตร์จะเน้นการศึกษาที่เจตจำนงอย่างเดียว จิตวิทยามีพื้นฐานอยู่ที่วิทยาศาสตร์ คือศึกษาที่ธรรมชาติของความจริง แต่ จริยศาสตร์ศึกษาข้อเท็จจริงทางศีลธรรม
สังคมวิทยามองโครงสร้างของสังคม บ่อเกิดและพัฒนาการของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมของมนุษย์ แต่จริยศาสตร์เน้นคุณค่าทางศีลธรรมของปัจเจกชนและสังคมส่วนรวมแต่สังคมวิทยาจะมองเพียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมโดยไม่ตัดสินว่าถูกผิด
มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 ประการคือ ร่างกายและจิตใจ วิชาชีววิทยาให้ความรู้เกี่ยวกับระบบ ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายมีระบบใดที่ผิดปรกติย่อมส่งผลกระทบต่อระบบศีลธรรมของผู้นั้นด้วย เช่น คนสติไม่สมบูรณ์ย่อมเป็นการยากที่จะให้มีศีลธรรมครบถ้วน
แหล่งช้อมูล