Angle – มุมกล้อง หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย
Dutch Angle – มุมเอียง การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก เวิ้งว้าง วังเวง พิกล ผิดอาเพศ
Eye level Angle – มุมระดับสายตา กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์ ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย กับคนดู และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจากล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย
High Angle – มุมสูง หรือ มุมก้ม กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า ไร้ความหมาย ตกต่ำ สิ้นหวัง แพ้พ่าย
และถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุมล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ สูงส่ง เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle
Low Angle – มุมต่ำ หรือ มุมเงย กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่สูงกว่า ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุที่ถ่าย เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง มีค่า ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า น่าเกรงขาม ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ นิยมถ่ายโบราณสถาน สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่สูงค่า น่าเกรงขาม
Subjective – มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่ ไม่ว่าจะเดิน นั่งนอน
Boom – อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่างการถ่ายทำ
Crane – ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์ เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง
Dolly – พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck
Slate – บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น ชื่อภาพยนตร์ ฉาก ช็อต เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ ช่างภาพ ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน ภายนอกหรือภายใน ฟิล์มม้วนที่เท่าไร วันที่ถ่าย เป็นต้น ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ
Pan – คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้าย
Tilt – คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจาก ซ้าย-ขวา เป็น บน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan
Cue – (อ่านว่า “คิว”) เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้ว
Shot – เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง กล่าวคือ เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง นับเป็น 1 shot
Cut – เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้ นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity
Cut-Away – ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่ เช่น “เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้ที่กำลังออกมารอต้อนรับ” เป็นต้น
Cut-In – ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น “ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ” เป็นต้น
Continuity – ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้ เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตสูง หน้าที่คือควบคุมความต่อเนื่องระหว่างช็อตแต่ละช็อต เป็นต้นว่า ช็อตแรกถ่ายคนกำลังเปิดประตูจากด้านนอกด้วยมือขวา เมื่อคัทช็อตมาถ่ายด้านใน ตอนเปิดประตูเข้ามาแล้วก็ต้องเป็นมือขวาที่กำลังกำลูกบิดประตูอยู่
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
แหล่งข้อมูล