การพยาบาลสาขาหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสุขภาพของชุมชน โดยนำความรู้ทางการพยาบาลศาสตร์ การสาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ฯลฯ มาใช้ในการปฏิบัตินำกระบวนการพยาบาล หรือกระบวนการแก้ปัญหามาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน และบุคคลากรอื่นในทีมสุขภาพ ในทุกขั้นตอนการวางแผนและดำเนินการด้านบริการเหมาะสมกับภาวะสุขภาพและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การพยาบาลอนามัยชุมชน เป็นการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชนในเขตที่รับผิดชอบ ดูแลทั้งผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ไม่เจ็บป่วย ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงโรคและผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วย ทั้งเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยผสมผสานบริการครบถ้วนทั้ง 4 มิติ คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของโรค และปัญหาสุขภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพิ่มศักยภาพและความสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพดี ลดการป่วย การตาย ความพิการจากโรคหรือปัญหาสุขภาพที่มีวิธีป้องกันได้
เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขของชุมชน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์หรือระดับของปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชน และสาเหตุของปัญหานั้นๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น และสนองตอบความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง และช่วยในการร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาสุขภาพอนามัย และการพัฒนาด้านอื่นๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
โดยในระยะยาว การให้ความรู้ในการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพจะช่วยลดภาระการรักษาในระยะยาวได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
1. การศึกษาชุมชนและการประเมินชุมชน
- ข้อบ่งชี้ลักษณะชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพ
- การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
- การระบุปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน
- การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน
- การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
2. การออกแบบและการวางแผนให้บริการสุขภาพชุมชน
3. การให้บริการสุขภาพชุมชน
4. การติดตามประเมินผล
1. หน้าที่ด้านบริการพยาบาลอนามัยชุมชน
ให้บริการชุมชนตามขอบเขตความรับผิดชอบลักษณะบริการเป็นบริการครบถ้วน ผสมผสานและต่อเนื่อง ผสมผสานบริการ 4 ด้าน เน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
- บริการด้านการรักษา
- บริการด้านการป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพ
- บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
- บริการด้านการฟื้นฟูสุขภาพ
2. ด้านการบริหารจัดการ
พยาบาลอนามัยชุมชนเป็นผู้บริหารงานจัดการที่ดีในงานส่วนที่รับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่นอย่างประหยัดกำลังคน เวลา และงบประมาณ ได้แก่การประสานงาน การควบคุมกำกับ การนิเทศงาน การประเมินผลงานการประสานงานที่ดีจะทำให้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ร่วมงานและประชาชน
- ในการบริหารงานด้านพยาบาลเป็นผู้วางแผนงาน จำเป็นต้องทราบนโยบายของหน่วยงานเพื่อวางแผนดำเนินงานได้สอดคล้องกัน
- จัดระบบงาน กำลังคน จัดทรัพยากรจังบประมาณ หาแหล่งประโยชน์ เตรียมให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานได้
- ติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรตรวจ ควบคุมงาน นิเทศน์งาน ให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ เสร็จตามกำหนดเวลา
- ประเมินผลงาน และแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขั้นต่อไป
3. ด้านวิชาการ
- การวิจัย มีส่วนร่วมในการวิจัย หรือทำการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาการพยาบาล การบริการด้านสุขภาพ การสาธารณสุข ฯลฯ
- การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลากรสุขภาพ นักเรียน นักศึกษา อาสาสมัคร สาธารณสุขของชุมชนประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้นำชุมชนหรือผู้ที่ประชาชนเชื่อถือมาปรึกษาเมื่อมีปัญหาสุขภาพ
- Knowledge : ความรู้
จำเป็นที่ต้องมีคุณสมบัติด้านความรู้และทักษะด้านการพยาบาลสาขาต่างๆ ได้แก่ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เด็ก สูตินรีเวช จิตเวช และสุขภาพจิต การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคเบื้องต้นผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บทั่วไปและเฉิน และนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน มีความรู้ด้านการสารณสุข
- Communication : ทักษะการสื่อสาร และ Coordination : ทักษะการติดต่อประสานงาน
ทั้งการพูด และการเขียน และการแสดงท่าที เพราะในการทำงานต้องมีการสื่อสารมากให้เข้าใจตรงกันมากที่สุด ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน สอน ถ้าการสื่อสารไม่ดีจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารมาก
- Planning : การวางแผน
พยาบาลอนามัยชุมชนต้องมีทักษะในการประเมินสภาวะสุขภาพของชุมชน รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ เพื่อนำมาวางแผนการดูแลที่เหมาะสมและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการทำแผนป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการให้บริการสุขภาพที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของพื้นที่
- Negotation : ทักษะการเจรจาต่อรอง
เนื่องจากการดูแลสุขภาพในชุมชนต้องเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีของชุมชน พยาบาลอนามัยชุมชนควรมีทักษะการพูดทำความเข้าใจและเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถเข้าถึงคนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
- Team participation : การทำงานเป็นทีม
การทำงานในชุมชนจำเป็นต้องอาศัยการปรับตัวตามบริบทและความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ การมีทักษะในการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และองค์กรในชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทำงานเป็นทีมกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมและป้องกันโรคในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
แหล่งข้อมูล facebook Panyapiwat Institute of Management
แหล่งข้อมูล