การเข้าใจถึงการทำงานของระบบร่างกายแต่ละระบบจะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพของเราได้อย่างถูกต้อง การรู้จักวิธีการทำงานและการตอบสนองของระบบเหล่านี้ ช่วยให้เราสามารถป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ รวมถึงการเลือกวิธีการรักษาเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ การศึกษาระบบร่างกายยังช่วยให้เรารับรู้ถึงสัญญาณเตือนของร่างกาย และดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที
เป็นระบบที่เป็นที่ยึดเกาะของระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เพื่อช่วยในการค้ำจุนร่างกาย ปกป้องอวัยวะภายในรักษาร่างกายให้คงตัว ช่วยในการเคลื่อนไหวในทุกๆ ด้าน อาทิ นั่ง นอน เดิน หยิบจับ ออกกำลัง เป็นต้น อีกทั้งเป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากนี้ไขกระดูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกระดูกชั้นในจะสร้างเม็ดเลือดแดง รวมถึงเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ในระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย
โรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก พบมากในกลุ่มคนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุ โรคเกี่ยวกับข้อ เช่น โรคเกาต์ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ โรคข้อเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม โรครูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบติดเชื้อ ส่วนโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกทับเส้น โรคเส้นทับกระดูก กระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกจากข้อ โรคกระดูกเสื่อม เป็นต้น
ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ ได้แก่ คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints) ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
ระบบนี้สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เราจึงควรสร้างเสริมให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและทนทานอยู่เสมอ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดโรค โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคมะเร็งกล้ามเนื้อ (โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)
ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
หน้าที่หลักของผิวหนังคือการเป็นด่านป้องกันไม่ให้อวัยวะภายใต้ผิวหนังนั้นได้รับอันตรายจากสารเคมี เชื้อโรค และแสงแดด ขณะที่เส้นผมและเล็บซึ่งยาวและงอกใหม่ จะช่วยเสริมการปกป้องอวัยวะใต้ผิวหนังนอกจากจะมีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากอันตรายภายนอก และขับถ่ายออกเสีย นอกจากนี้ผิวหนังยังมีหน้าที่ในการรับความรู้สึกอีกด้วย โดยผิวหนังจะรับความรู้สึกแล้วส่งข้อมูลไปยังสมอง เพื่อให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองอีกทีหนึ่ง อีกทั้งผิวหนังยังสามารถทำหน้าที่ดูดซึมสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย เช่น ยาทาบรรเทาอาการแก้ปวด และการทำหน้าที่รายงานความผิดปกติของร่างกายอีกด้วย โดยจะแสดงออกมาให้เห็นได้ทางผิวหนัง เช่น อาการหน้าแดง ผืนแดงขึ้นเนื่องจากการแพ้ยาหรือการแพ้อาหาร
เกี่ยวข้องกับโครงสร้างร่างกายโดยตรงคือ ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve) เป็นระบบที่ต้องนำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆ เพื่อให้เกิดการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของร่างกาย แต่หากขาดเส้นประสาทซึ่งเป็นเส้นทางที่นำเอาคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆแล้ว สมองก็ไม่สามารถสั่งให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : เป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : อาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงแค่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ ถั่ว และถั่วเหลืองที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี หรือการรับประทานไขมันดีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา ถั่วต่าง ๆ และอะโวคาโด
- พักผ่อนให้เพียงพอ : การพักผ่อนช่วยให้ระบบประสาทและระบบอื่น ๆ ได้ฟื้นฟูตัวเอง ส่งผลให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ : ช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม และสามารถรักษาได้ทันที
แหล่งข้อมูล