Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์

Posted By naminmin273 | 15 ต.ค. 67
306 Views

  Favorite

กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ (Animal Anatomy) 

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับขนาด รูปร่าง โครงสร้าง และการทำงานของเซลล์ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกายสัตว์ ซึ่งมีความหลากหลายตามชนิดของสัตว์แต่ละประเภท การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของสัตว์เป็นวิชาทางชีววิทยาแขนวงหนึ่ง จะให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะปกติของโครงสร้าง รูปร่าง และลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงโครงสร้างและระบบการทำงานของอวัยวะในสัตว์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้น และดำเนินการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาที่เกี่ยวข้องอีกหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น สัตวศาสตร์, สัตววิทยา, สัตวแพทยศาสตร์ เป็นต้น

 

การศึกษากายวิภาคของสัตว์ แบ่งออกได้เป็น 9 แขนงวิชาใหญ่ ได้แก่

1. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเฉพาะเจาะจง

เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เฉพาะเจาะจงในร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด เช่น โครงสร้างกล้ามเนื้อ, โครงสร้างกระดูก, ระบบขับถ่าย, ระบบประสาทและสมอง, ระบบฮอร์โมนที่หลั่งจากต้อมไร้ท่อ เป็นต้น

 

2. จุลกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา

เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ในร่ายการสัตว์ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เซลล์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยเป็นการศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ เช่น ลักษณะการทำงานของเซลล์และเยื้อหุ้มเซลล์, การแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์, การดูดซึมสารอาหารของเซลล์ เป็นต้น

 

3. มหกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา

เป็นการศึกษษลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์ โดยใช้เครื่องมือเป็นตัวช่วย เช่น มีด, กรรไกผ่าตัด, เลื่อย ฯลฯ เพื่อชำแหละหรือแยกส่วนต่าง ๆ จากนั้นจึงทำการศึกษาด้วยตาเปล่า

 

4. คัพภะวิทยาและสรีรวิทยา

เป็นการศึกษาการเจริญเติบโต, การเปลี่ยนแปลง และการทำงานของเซลล์ หรืออวัยละในร่างกายสัตว์ ตั้งแต่ช่วงเป็นตัวอ่อน, ระยะก่อนคลอด ระยะหลังหลังคลอด ไปจนถึงระยะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์

 

5. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเปรียบเทียบ

เป็นการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในสัตว์แต่ละชนิด เช่น การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและการทำงานของตับในวัวกับสุกร เป็นต้น

 

6. กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ และสรีวิทยาทางสัตวแพทย์

เป็นการศึกษาลักษณะโรงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์เพื่อใช้ในการดูแลรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาสัตวแพทยศาสตร์

 

7. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาตามบริเวณร่างกาย

เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ แบบจำกัดขอบเขตเฉพาะบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ โดยแบ่งเป็น 4 บริเวณหลัก ได้แก่ หัว-คอ, อก-ขาหน้า, ท้อง และ อุ้งเชิงกราน-ขาหลัง

 

8. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาที่มีความสัมพันธ์กัน

เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์ โดยแบ่งส่วนที่ศึกษาเป็น 4 ส่วน ได้แก่ หัว, หน้า, ท้อง และขาหลัง

 

9. กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ และสรีรวิทยาตามระบบโครงสร้าง

เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างและการทำงานอวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ, ระบบโครงกระดูก, ระบบหายใจ เป็นต้น

 

ความแตกต่างทางกายวิภาคระหว่างสัตว์แต่ละชนิด

แม้ว่าจะมีโครงสร้างหลักที่คล้ายคลึงกัน แต่กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามลักษณะทางสรีระวิทยา ตัวอย่างเช่น นกมีโครงสร้างกระดูกที่เบาและมีถุงลมช่วยในการหายใจ เพื่อช่วยให้พวกมันบินได้ ส่วนปลามีครีบและเกล็ดเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังที่แข็งและแห้งเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ

 

ศัพท์ที่ใช้ชี้บอกตำแหน่งและความสัมพันธ์ของอวัยวะร่างกายสัตว์ (terms of relationship)

anterior หรือ cranial - ส่วนหัวหรือด้านหน้าของสัตว์ หรือส่วนที่ค่อนไปทางด้านหน้าของสัตว์

posterior หรือ caudal - ส่วนท้ายหรือด้านหลังของสัตว์ หรือส่วนที่ค่อนไปทางด้านหลังของสัตว์

ventral - ด้านล่างหรือด้านที่ค่อนไปทางด้านท้องของสัตว์

dorsal - ด้านบนหรือด้านหลังของร่างกายสัตว์

proximal - ด้านที่อยู่สูงกว่าหรือเหนือกว่าหรืออยู่ใกล้กับเส้นกลางตัวมากกว่าหรือใกล้แนวกระดูกสันหลังมากกว่า

distal - ด้านที่อยู่ต่ำกว่าหรือไกลกว่าแนวกระดูกสันหลัง

superior - ส่วนบนเหนือหัวหรือส่วนหัว

inferior - ส่วนล่างของร่างกาย

median - ส่วนที่อยู่ในแนวกลางตัวพอดี

medial - อยู่ใกล้กับแนวกลางตัว

lateral - ส่วนที่อยู่ห่างจากแนวกระดูกสันหลังหรือเส้นแนวกลางตัว

intermediate - ส่วนที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองสิ่ง

superficial - ส่วนที่อยู่ใกล้ผิวหรืออยู่ตื้น

deep - ส่วนที่อยู่ลึกลงไป

external - ส่วนที่อยู่ด้านนอกของผนัง(มักใช้กับอวัยวะที่มีโพรง)

internal - อยู่ข้างในของผนัง(มักใช้กับอวัยวะที่มีโพรง)

central - อยู่ใกล้ศูนย์กลางหรือใกล้อวัยวะมากกว่า

peripheral - อยู่ห่างจากศูนย์กลางหรือไกลอวัยวะมากกว่า

visceral - ชั้นที่แนบติดกับผิวอวัยวะภายใน

parietal - ชั้นที่บุผนังด้านในของช่องว่างในร่างกาย

 

การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ช่วยให้เราเข้าใจถึงความซับซ้อนของร่างกายและการทำงานของสัตว์แต่ละชนิดได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจโครงสร้างและระบบการทำงานภายในของสัตว์จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการดูแลสัตว์เลี้ยง และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ในคณะสัตวแพทยศาสตร์อีกด้วย

 

 

แหล่งข้อมูล

กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์‎ ที่ซับซ้อนและน่าค้นหาไม่แพ้มนุษย์

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • naminmin273
  • 0 Followers
  • Follow