คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อและสามารถแพร่ระหว่างสัตว์และคนได้ ซึ่งอาจติดต่อจากสัตว์ไปยังคนหรือคนไปยังสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก โดยโรคเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสสัตว์โดยตรง การถูกกัดหรือข่วน หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์
- เชื้อไวรัส เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก
- แบคทีเรีย เช่น โรคฉี่หนู โรคบาดทะยัก โรคไข้กระต่าย
- เชื้อรา เช่น โรคเชื้อราจากผิวหนังแมว โรครามูลนก
- เชื้อโปรโตซัว ปรสิต เช่น โรคพยาธิปากขอ โรคไข้ขี้แมว
เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงด้วยนมทุกชนิด พบได้ใน สุนัข,แมว,หนู,ค้างคาว จะมีอาการ เบื่ออาหาร น้ำลายไหล กลัวแสง พฤติกรรมก้าวร้าว
การป้องกัน
- พาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไปฉีดวัคซีนวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
- หากถูกสัตว์กัดควรรีบล้างด้วยน้ำสบู่และรีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
เป็นโรคติดเชื้อไวรัสแดงกี พบในยุงลาย จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นที่ผิวหนัง หากมีอาการรุนแรงอาจมีภาวะเลือดออกผิดปกติเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การป้องกัน
- กำจัดที่อยู่อาศัยของยุงลาย เช่น ล้างถาดน้ำ กล่องน้ำ และถังน้ำที่ใช้เก็บน้ำฝนให้สะอาด เพื่อไม่ให้ยุงวางไข่และเจริญพันธุ์
- สวมใส่ เสื้อผ้าที่ครอบคลุมแขนและขาเมื่อเข้าไปในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเมื่อออกนอกบ้าน
- ใช้ยากันยุงหรือสารกันยุงที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดโอกาสถูกยุงลายกัด และควรใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมเช่น DEET, picaridin, IR3535 หรือ oil of lemon eucalyptus
เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากสัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็นนก ไก่ เป็ด ไก่ง่วง หรือห่าน จะมีอาการ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง เจ็บหน้าอก มีเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดกำเดาไหล หรือมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ
การป้องกัน
- ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์ปีกทุกชนิด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับสัตว์ปีก นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีสัตว์ปีก และไม่ควรรับประทานเนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีกที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก
เป็นโรคติดต่อโดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง พบในสัตว์ตระกูลลิง กระรอก หนูป่า จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ
การป้องกัน
- ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง ตุ่มน้ำใส
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด
- การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู หรือสัตว์เลี้ยงต่างๆ โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายคนผ่านแผล หรือเยื่อเมือก
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการเดินหรือสัมผัสน้ำขังในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ
- พยายามอย่าตัดเล็บเท้าสั้นเกินไปจนเกิดบาดแผล เพราะเท้าเป็นตำแหน่งที่เชื้อโรคจากที่ต่าง ๆ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
- ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง หากสัมผัสภาชนะบรรจุของเสียของสัตว์
1. การดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกสุขลักษณะ – ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ และหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
2. การปรุงอาหารให้สุก – เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ควรถูกปรุงจนสุกเพื่อกำจัดเชื้อโรค
3. การหลีกเลี่ยงสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง – ไม่ควรสัมผัสสัตว์ป่าหรือสัตว์ที่เราไม่รู้จักประวัติสุขภาพโดยตรง
4. การใช้สารป้องกันแมลง – การใช้สารทากันยุงและการป้องกันจากแมลงที่เป็นพาหะโรคเป็นสิ่งสำคัญ
5. การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล – ล้างมือหลังจากสัมผัสสัตว์หรือสิ่งแวดล้อมที่อาจมีเชื้อโรค