เป็นวิทยาศาสตร์กายภาพที่เกี่ยวข้องกับแรงและผลของแรงบนวัตถุ ถึงแม้ว่าหลักการของวิชากลศาสตร์จะมีไม่มาก แต่ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหลากหลายในทางวิศวกรรมได้ เช่น การสั่นสะเทือน เสถียรภาพและความแข็งแรงของโครงสร้างหรือเครื่องจักร หุ่นยนต์ การออกแบบควบคุมรถยนต์ ยานอวกาศ เครื่องยนต์ การไหลของของไหล เครื่องจักรกลทางไฟฟ้า หรือแม้แต่ แรงในระดับอะตอม เป็นต้น
กลศาสตร์มีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีซโบราณ งานเขียนของอาริสโตเติล และอาร์คิมิดี นักวิทยาศาสตร์ในสมัยใหม่ตอนต้น เช่น โอมาร์ คัยยาม, กาลิเลโอ กาลิเลอี, โยฮันเนส เคปเลอร์, และโดยเฉพาะ ไอแซก นิวตัน เป็นผู้วางรากฐานกลศาสตร์ดั้งเดิม กลศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องอนุภาคทั้งที่หยุดนิ่งและที่กำลังเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าความเร็วแสง
ดังนั้นการเข้าใจถึงหลักการของวิชากลศาสตร์ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ในทางวิศวกรรม เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมการบิน และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
- สถิตยศาสตร์ (Statics) ; ศึกษาเกี่ยวกับสมดุลของวัตถุภายใต้แรงกระทำต่าง ๆ
- พลศาสตร์ (Dynamics) : ศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
1. กฎการรวมแรง : แรง 2 แรงที่ประทำต่ออนุภาคเดียวกัน สามารถแทนด้วยแรงลัพธ์แรงเดียว ด้วยการลากเส้นทแยงของสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้งสองเท่ากับแรงทั้งสอง
2. กฎการย้ายแรง : เราสามารถแทนแรงที่กระทำที่จุดหนึ่งบนวัตถุเกร็งด้วยแรงขนาดและทิศทางเดียวกันกระทำที่อีกจุดหนึ่ง โดยที่จุดทั้งสองต้องอยู่บนแนวแรง
3. กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน : วัตถุสองก้อนซึ่งมีมวล m1 และ m2 จะดึงดูดกันและกันด้วยแรงที่เท่ากันซึ่งมีขนาด
4. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน (ใช้กับสถิตยศาสตร์) : ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ วัตถุย่อมอยู่นิ่ง
5. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน : แรงกระทำและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุที่แตะกัน ย่อมมีขนาดเท่ากัน อยู่ในแนวเดียวกัน และมีทิศตรงกันข้าม
1. จลนคณิตศาสตร์ (คิเนเมติกส์ Kinematics) : เป็นส่วนที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุในเชิงคณิตศาสตร์เท่านั้น โดยยังไม่พิจารณาผลของแรงกระทําภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. จลนศาสตร์ (คิเนติกส์ Kinetics) : เป็นส่วนที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหวางแรงภายนอกที่กระทําต่อวัตถุซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยในส่วนนี้จะมีกรรมวิธีการแก้ปัญหาอยู่ 3 วิธี ได้แก่
ความสัมพันธ์ของมวล แรง และความเร่ง, ความสัมพันธ์ของงานและพลังงาน และ ความสัมพันธ์ของอิมพัลส์ กับโมเมนตัม
แหล่งข้อมูล