นักสังคมสงเคราะห์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและสนับสนุนบุคคลและชุมชนที่ต้องการการดูแลและการแทรกแซงทางสังคม ทักษะที่นักสังคมสงเคราะห์ควรมีรวมถึงความสามารถในการฟังและเข้าใจปัญหาของผู้รับบริการ การวิเคราะห์และวางแผนการช่วยเหลือที่เหมาะสม รวมถึงทักษะในการประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่ซับซ้อนก็เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การมีความเห็นอกเห็นใจและความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนยังเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในสายอาชีพนี้
เนื่องจากการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับอาชีพนี้ ไม่ว่าพูด ฟัง สรุปความ หรือแม้แต่การสังเกต เพราะนักสังคมสงเคราะห์ต้องคอยพูดคุยรับฟัง และเข้าใจความต้องการของบุคคลที่เราช่วยเหลืออย่างแท้จริง
ซึ่งนักสังคมสงเคราะห์หนึ่งคน อาจรับเรื่องเข้ามาหลายเคส จึงต้องมีทักษะการจัดการที่ดี เพื่อจัดการความช่วยเหลือให้แก่ทุกเคสอย่างทั่วถึงทันเวลา
จำเป็นมากเพราะถือเป็นงานหลักของนักสังคมสงเคราะห์ที่ต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาของบุคคลเหล่านั้นได้เป็นลำดับ รวมทั้งยังต้องระบุประเด็นปัญหาได้อย่างถูกต้อง การทำงานสังคมสงเคราะห์จะมีขั้นตอนของการประเมินความต้องการของผู้ใช้บริการด้วย ดังนั้น นักสังคมสงเคราะห์จึงต้องสืบค้นข้อเท็จจริง ประเมิน และระบุปัญหาให้ได้ว่า ผู้ใช้บริการมีความต้องการอะไร ต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้าง
เนื่องจากในการทำงานสังคมสงเคราะห์จะมีขั้นตอนของการประเมินสภาวะของผู้ใช้บริการ (Assessments) ด้วย ดังนั้น นักสังคมสงเคราะห์ จึงต้องมีความสามารถคิดวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถประเมินในสิ่งที่เราไปสืบค้นข้อเท็จจริงได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุและผล ไม่ใช่คติหรืออารมณ์
การทำงานสังคมสงเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นสังคมสงเคราะห์ชุมชนหรือสังคมสงเคราะห์รายบุคคล เราไม่ได้ทำงานแบบด้านใดด้านหนึ่ง มุมใดมุมหนึ่ง แต่เป็นการทำงานแบบ ‘องค์รวม’ ดังนั้น จึงต้องมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสามารถมองภาพรวมของสภาพแวดล้อม สามารถนำองค์ประกอบต่างๆ ในชีวิตของผู้ใช้บริการมาจัดให้เป็นระบบได้ เช่น ทราบข้อมูลทั้งหมดของสมาชิกในครอบครัว แล้วนำมาวาดจีโนแกรม เพื่อเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บริการมาสรุปและประเมินอย่างเป็นระบบ