- ส่วนที่ 1 เชาวน์ปัญญา : ออกเรื่องอนุกรมและการทดสอบเชาว์ กลุ่มมิติสัมพันธ์ และกลุ่มคณิตศาสตร์ ม. ต้น + ม. ปลาย ทั่วไป
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ส่วนที่ 2 จริยธรรมทางการแพทย์ : วัดแนวคิดการแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ข้อสอบยกมา คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ส่วนที่ 3 ความคิดเชื่อมโยง : ทดสอบการคิดวิเคราะห์ การจับใจความ มีความคล้าย GAT เชื่อมโยง แต่ต้องใช้การวิเคราะก์ที่ซับซ้อนกว่าคะแนนเต็ม 100 คะแนน
การทำความเข้าใจในโครงสร้างของข้อสอบ TPAT1 เป็นขั้นตอนแรกที่ควรให้ความสำคัญ แต่ละส่วนต้องการทักษะและความรู้เฉพาะด้าน การศึกษาล่วงหน้าถึงรูปแบบของข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบจากปีที่ผ่านมา จะช่วยให้สามารถจัดการเวลาในการทำข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกทำข้อสอบเก่าของ TPAT1 เป็นวิธีที่ดีในการเตรียมตัว ฝึกทำข้อสอบหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยให้คุณคุ้นเคยกับรูปแบบคำถามและสามารถประเมินเวลาในการทำข้อสอบได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การจำลองสถานการณ์สอบจริง เช่น การจับเวลาและทำข้อสอบในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ จะช่วยลดความตื่นเต้นและเพิ่มความมั่นใจในวันสอบจริง
ความถนัดทางการแพทย์เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการการคิดวิเคราะห์ที่แม่นยำ การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการแก้ปัญหาโจทย์ที่ซับซ้อน หรือการอ่านบทความที่ต้องใช้การวิเคราห์ จับใจความ จะช่วยให้พร้อมในการตอบคำถามที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ได้อย่างดี
การสอบจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ต้องอาศัยความเข้าใจในหลักการทางศีลธรรมและจรรยาบรรณ การอ่านกรณีศึกษาทางการแพทย์หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย สามารถช่วยให้เตรียมตัวในส่วนนี้ได้ดีขึ้น
นอกจากการเตรียมตัวในด้านวิชาการแล้ว การดูแลสุขภาพกายและใจให้พร้อมก็สำคัญไม่แพ้กัน การนอนหลับให้เพียงพอและการจัดการเวลาในการอ่านหนังสือให้เหมาะสม จะช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในวันสอบ