เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องศึกษาระบบ TCAS ให้เข้าใจก่อนสมัครสอบในแต่ละรอบ ไม่ใช่แค่นักเรียน ม. 6 เท่านั้นที่ต้องรู้ นักเรียนทุกระดับชั้นควรศึกษาไว้หมด รวมทั้งผู้ปกครองก็ควรศึกษาข้อมูลไว้เช่นกัน เพื่อที่สามารถช่อวยเหลือและให้คำแนะนำกับลูกได้ เพราะการเข้ามหาวิทยาลัย ยังไงน้อง ๆ และครอบครัวก็ต้องตัดสินใจร่วมกันอยู่แล้ว
ระบบ TCAS คือระบบแข่งขันคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบหลักของประเทศไทย เป็นระบบกลางในการจัดการคัดเลือกจากแต่ละมหาวิทยาลัย ตามเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย ในระบบ TCAS แต่ละรอบ คัดเลือกผ่านระบบ และใช้สิทธิ์หรือสละสิทธิ์ผ่านระบบกลาง โดยไม่ต้องส่งเรื่องแยกไปแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็ยระบบสำคัญที่คนเดียวเข้ามหาวิทยาลัยต้องศึกษาให้เข้าใจ
ใช้ Portfolio โชว์ผลงานในการคัดเลือก และเน้นการสอบสัมภาษณ์ วัดทักษะจากผลงานและประสบการณ์ตรงสาขาที่สมัคร โดยมีเกณฑ์คัดเลือกดังนี้
- ใช้ปลงานและความถนัด ความสามารถพิเศษ
- ไม่ใช้ข้อสอบวิชาการ (A-Level) แต่ในปี 66 เป็นต้นไป สามารถใช้คะแนน TGAT และ TPAT ยื่นได้ โดยเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่ที่แต่ละสาขากำหนด
- ใช้แฟ้มสะสมผลงาน จำนวน 10 หน้า (ไม่รวมปก)
- บางมหาวิทยาลัย อาจมีกำหนดสอบความถนัดเฉพาะด้าน หรือสอบภาคปฏิบัติฃ
- สมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย หรือสมัครได้หลายที่ (ดูรายละเอียดได้จากระเบียบการรับสมัครแต่ละมหาวิทยาลัย)
- ใช้ GPAX 4 หรือ 5 ภาคเรียน (แล้วแต่โครงการกำหนด)
- ติดได้หลายที่ แต่ยืนยันสิทธิ์ได้ 1 ที่เท่านั้น
- ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ My TCAS
เป็นรอบรับตรงโควตา ตามเกณฑ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด โดยรอบนี้มหาวิทยาลัยแต่ละที่ จะกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการไว้เองชัดเจน คุณสมบัติและเกณฑ์ทุกอย่างขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย โครงการที่เปิดรับสมัครมีหลายโครงการ เช่น
โครงการ 14 จังหวัดภาคใต้
โครงการรับตรงภาคตะวันออก 12 จังหวัด
โควตาพื้นที่เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือพิเศ
โครงการความสามารถพิเศษด้านวิชาการ
โครงการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
โครงการร้านยาคุณภาพ
โครงการบุตรเกษตรกร
โครงการเรียนดีในเขตชนบท
โควตาโรงเรียนมัธยมในเขตพัฒนาภาคเหนือ
โครงการชาวไทยภูเขา
โครงการโอลิมปิกวิชาการ / กีฬา / ดนตรี / ศิลปะ
โครงการทายาทธุรกิจยางพารา
โควตาโรงเรียน MOU ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เป็นรอบรับตรงร่วมกัน แต่ใช้เกณฑ์ต่างกัน คือ เป็นรอบที่แต่ละมหาวิทยาลัย
ออกแบบเงื่อนไของค์ประกอบการรับนักศึกษาเอง ตามความต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่นำมาเปิดรับและประมวลผลพร้อมกันผ่านระบบกลาง ซึ่งเป็นรอบที่การแข่งขันสูงมาก เป็นรอบที่สู้กันด้วยคะแนนสอบรายวิชาในแต่ละประเภทการสอบ ซึ่งเปิดรับพร้อมกัน ในเวลาเดียวกันทุกสถาบัน จำกัดจำนวนอันดับที่เลือกตามกติกาของแต่ละปี ยอดและเกณฑ์การรับสมัครต้องคอยติดตามระเบียบการให้ดี ห้ามพลาดข่าวเด็ดขาด
รูปแบบการรับสมัคร คือ
- เลือกได้ 10 อันดับ
- เรียงตามลำดับความต้องการ
- กสพท ก็อยู่ในรอบนี้เช่นกัน
- รับสมัครผ่าน ทปอ.
- มหาวิทยาลัยส่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และสูตรการคำนวณ ให้ ทปอ. ประมวลผล
- ทปอ.จะประกาศผลการติดเพียง 1 อันดับ คืออันดับสูงสุดที่สอบติด (จากอันดับทั้งหมดที่เราเลือกไว้)
- ประมวลผล 2 ครั้ง (Double Sorting)
- ต้องยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ Clearing House ในการประกาศผลครั้งที่ 1และใช้ระบบ Auto Clearing (ยืนยันสิทธิ์โดยอัตโนมัติตามที่ได้เลือกไว้ โดยไม่ต้องกดยืนยันสิทธิ์) ในการประกาศผลครั้งที่ 2
- เปิดให้สละสิทธิ์ได้ (ถ้ายังไม่เคยสละสิทธิ์มาก่อน)
เป็นรอบสุดท้ายเก็บตก เปิดโอกาสให้กับคนที่ยังไม่ติดในรอบก่อนหน้านี้ แต่จำนวนที่เปิดรับน้อยกว่าทุกรอบ ใครสมัครรอบนี้ ควรมีคะแนนสอบควรตามเกณฑ์ หรือให้ดีควรมีคะแนนสอบหลายวิชา สำรองไว้ในมือจะดีมาก ๆ เพราะจะสามารถเลือกได้หลายสาขามากขึ้น เป็นรอบสุดท้ายที่เปิดรับแล้ว ดังนั้นคะแนนต้องปัง คะแนนต้องครบ คุณสมบัติต้องเป๊ะ เพื่อให้เราติดในรอบนี้ให้ได้
รูปแบบการรับสมัครในรอบนี้ คือ
- ไม่ได้เปิดทุกสาขา / ทุกสถาบัน และเปิดรับไม่เยอะ แต่ละปีเปิดรับไม่เท่ากัน ต้องคอยตามข่าวให้ทัน
- ใช้เกณฑ์รูปแบบการคัดเลือกหลากหลาย (ศึกษาข้อมูลตามระเบียบการแต่ละมหาวิทยาลัย)
- สมัครตรงกับมหาวิทยาลัย และสามารถเลือกได้หลายที่ (ศึกษาข้อมูลตามระเบียบการแต่ละมหาวิทยาลัย)
- ประมวลผลการสมัคร 2 ครั้ง
- ติดได้หลายที่ แต่ก็ยืนยันสิทธิ์ได้ 1 ที่เท่านั้น
- ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบ My TCAS 2 ช่วง (ตามการประกาศผล)
- ไม่อนุญาตให้สละสิทธิ์ ถ้าไม่ต้องการ ไม่ต้องกดยืนยันสิทธิ์