Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รีวิวเทคนิคการอ่านหนังสือ แพทย์ จุฬาฯ

Posted By Plook TCAS | 29 ก.พ. 67
14,760 Views

  Favorite

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในคณะยอดฮิต มหาวิทยาลัยฮิต ที่คนแย่งกันสมัครเข้าจำนวนมาก การแข่งขันสูงมาก การสอบติดจึงเป็นเรื่องยาก และท้าทาย เรามาดูเทคนิคการอ่านหนังสือ และการเรียนดีกว่าว่า เข้าไปเรียนแล้วจะเจออะไร

 

การเรียนที่คณะแพทย์

การเรียนหมอทำให้พี่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่เกี่ยวร่างกายมนุษย์ต่าง ๆ และสิ่งรอบตัว ได้ฝึกเจาะเลือด วัดความดัน ต้องบริหารเวลาให้ดี การเรียนในแพทย์จุฬาฯ เรียนตั้งแต่ ความรู้พื้นฐานใน 


ปีที่ 1 ตามด้วยระบบร่างกายในขณะทำงานปกติ

ปีที่ 2 ปีที่ 3 เเรียนความผิดปกติ โรค และยารักษา

ปี 4 เป็นต้นไป ก็จะได้ไปฝึกงานตามวอร์ด
 

จุดเด่นของแพทย์จุฬาฯ

เรียนเฉพาะวิชาที่ได้นำไปใช้ในการเป็นหมอจริง ๆ เท่านั้น เช่น ฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมีทางการแพทย์ ไม่ต้องท่องจำตารางธาตุที่ไม่ได้ใช้ เป็นหลักสูตรที่เน้นการปลูกฝังให้เป็นหมอที่ดีพร้อม ไม่ใช่การมีแค่เพียงความรู้ แต่ต้องมีความดีที่ดี มีจิตใจที่ดี เน้นให้ลงมือเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง ได้ลองทำจริง ฝึกฝนจริง อาจารย์ที่สอยก็มีความรู้ความสามาถมาก ๆ หลักศุตรเน้นเฉพาะเจาะที่วิชาการแพทย์โดยเฉพาะ เน้นหาลึก เพื่อสร้างทักษะการเป็นแพทย์ในอนาคต

 

การสอบวิชาเฉพาะแพทย์

สำหรับวิชาเฉพาะแพทย์ เนื้อหาขค่อนข้างที่จะไม่ได้ตายตัว ต้องอาศัยการอ่านและนำความเข้าใจ และฝึกทำข้อสอบเก่าให้มาก ข้อเน้นวัดทักษะการเชื่อมโยงความคิด มีเหตุมีผล และวัด IQ  เป็นข้อสอบแนวเชาวน์เวอร์ชั่นที่ค่อนข้างยาก มีวัดทักษะด้านจริยธรรมแพทย์ 

 

เทคนิคการอ่านหนังสือ

การเตรียมที่ดีที่สุด คือเริ่มเตรียมตั้งแต่ ม. 4 เก็บทุกวิชาที่ใช้ในการสอบ ศึกษาให้ดีเลยว่า เกณฑ์คะแนนต้องใช้อะไรบ้าง แล้ววางแผนหาความรู้ในรายวิชาทั้งหมด โดยจัดตารางเวลาการเตรียมสอบ ในแต่ะละวันใหัชัดเจน จะทำอะไรตอนไหน แต่ต้องไม่ละเลยแผนที่วางไว้ ควรทำเสร็จเสร็จตามแผนในแต่ละวัน นอกจากอ่านหนังสือแล้ว ควรฝึกทำข้อสอบเก่าแต่ละวิชาด้วย โดยจับเวลาจริงในการฝึกทำข้อสอบ เพื่อฝึกการบริหารจัดการเวลาในห้องสอบ หาเวลาไปเข้าค่าย อบรม ฝึกงาน ในทักษะการเป็นแพทย์ เพื่อทบทวนตัวเองว่า เราชอบแล้วสามารถเรียนด้านนี้ได้จริงไหม นอกจากนี้ควรแบ่งเวลาเตรียมผลิตชิ้นงาน ผลงานเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้ทำ ด้านการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเอาไว้ใช้ในการสมัคร ทุกอย่างควรมีแผนที่ชัดเจน และเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดีเพราะการแข่งขันสูง เราต้องพร้อมอยู่เสมอ ส่วนใครที่เตรียมตัวไปไม่ทัน มาเริ่มเตรียมช่วง ม.5 - 6 ก็ยังทันนะ แต่ต้องเร่งเครื่องหน่อย เอาแผนมาปรับใช้ในเวลาที่จำกัดขึ้น หนังสือหรือความรู้ก็เน้นไปที่ ข้อมูลที่สรุปมาแล้ว ตรงจุดที่มักออกสอบ ก็จะช่วยให้การเตรียมออกมาดีมากขึ้น เพิ่มโอกาสสอบติดได้

 

เกณฑ์การคัดเลือก

1. TPAT 1 วิชาเฉพาะ กสพท 30%

ข้อสอบแบ่งเป็น 3 Part

Part 1 เชาว์ปัญญา ความสามารถในการคำนวณ การจับใจความ เน้นไปที่คณิตศาสตร์เบื้องต้น ตรรกศาสตร์ อนุกรม การจับคู่ ความสัมพันธ์ ฯลฯ และแนวภาษาไทยที่เป็นรูปแบบบทความ ให้อ่านเพื่อจับใจความ แล้ววิเคราะห์

Part 2 จริยธรรมแพทย์ เน้นไปเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

Part 3 เชื่อมโยง ความเป็นเหตุเป็นผล แนวข้อสอบคล้าย TGAT

 

2. A-Level (7 วิชา) 70%

แต่ละกลุ่มสาระวิชามีค่าน้ำหนักไม่เท่ากัน และที่สำคัญแต่ละกลุ่มต้องไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน

- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี และ ชีววิทยา) ค่าน้ำหนัก 40%

- คณิตศาสตร์ 1 ค่าน้ำหนัก 20%

- ภาษาอังกฤษ ค่าน้ำหนัก 20%

- ภาษาไทย ค่าน้ำหนัก 10%

- สังคมศึกษา ค่าน้ำหนัก 10%

*เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 คะแนนขึ้นไป วิทย์รวม 3 วิชา ต้องได้ 90 ขึ้นไป นอกนั้นวิชาละ 30 ขึ้นไป

**บางสถาบันมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น แพทย์ พระมุงกฎ ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเป็นแพทย์ทหาร หรือ เภสัช มหิดล ขอคะแนนวิชาสามัญวิทยาศาสตร์แยกรายวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน ควรเช็คคุณสมบัติกับสถาบันที่จะสมัครอย่างละเอียดอีกครั้ง

 

คะแนน TPAT 1 วิชาเฉพาะ กสพท

สมัครผ่าน กสพท www9.si.mahidol.ac.th

ช่วงเดือนกันยายน

ค่าสมัคร 800 บาท

สอบ ช่วงเดือนธันวาคม

 

คะแนน A-Level

สมัครสอบ 7 วิชา ไทย, สังคม, อังกฤษ, คณิต 1, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา

สมัครผ่าน ทปอ. www.mytcas.com

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ค่าสมัครวิชาละ 100 บาท

สอบ ช่วงเดือนมีนาคม

 

ยื่นคะแนน TCAS

สมัครทาง www.mytcas.com

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน

ช่วงเดือนพฤษภาคม

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow