ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น หรือมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี มีความเสี่ยงต่ำที่สุด
เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง หรือผู้ที่ต้องการพักเงินในช่วงที่ผลตอบแทนไม่ดี
เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, ตั๋วเงินคลัง, บัตรเงินฝากของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน, หุ้นกู้เอกชน
เหมาะกับผู้ที่ลงทุนได้ระยะยาว และผู้ที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก คาดหวังผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ เผ็นผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง
กองทุนที่สามารถลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ เช่น เงินฝาก ตราสารหนี้ ตราสารทุน ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงของเงินที่ลงทุนมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 80%
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง เป็นผู้ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนในหุ้นมากนัก แต่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ได้ทุกประเภทเหมือนกองทุนรวมผสม ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง และผู้ที่ไม่มีเวลาในการปรับสัดส่วนกองทุนหรือหุ้น
ลงทุนในตราสารทุนประเภทต่างๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หน่วยลงทุนของกองทุนรวม มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 80%
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้สูง ชอบการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาบริหารการลงทุน
เน้นลงทุนในหุ้น แต่เจาะจงอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นสื่อสาร หุ้นโรงพยาบาล ฯลฯ โดยเฉลี่ยแล้วไม่น้อยกว่า 80%
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง นื่องจากมีการลงทุนแบบกระจุกตัว และมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างดี
ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ตราสารอนุพันธ์ ที่ไม่ใช่เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และต้องการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม โดยต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล