‘สัตว์ป่า’ เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศวิทยา และมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของธรรมชาติ
ด้วยการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ ควบคุมประชากรของสัตว์ และช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้สัตว์ป่ายังเป็นแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ และยังเป็นแหล่งศึกษาพฤติกรรมสัตว์ป่าที่สำคัญสำหรับมนุษย์อีกด้วย
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระยศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในขณะนั้น และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ลงนามในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2503 เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งภายหลังได้มีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 และอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทันต่อสมัยและเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี เป็น ‘วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ’ เพื่อตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าให้คงอยู่ในป่า อันจะช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติของชาติกลับคืนความอุดมสมบูรณ์ดังเช่นในอดีตสืบไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช