สำหรับมือใหม่เริ่มลงทุน มารู้จัก 7 ประเภทหุ้น ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละหุ้นเป็นอย่างไร ก่อนที่จะเริ่มลงทุน ไปดูกันเลย
ลักษณะของธุรกิจที่เป็นกิจการขนาดใหญ่ มีฐานะทางการเงินมั่นคง ผลดำเนินงานดีสม่ำเสมอ จ่ายปันผลต่อเนื่อง เป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ เช่น บ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC), ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), CPF, PTT เป็นต้น
ลักษณะของธุรกิจที่ยังอยู่ในช่วงการเติบโตได้ต่อเนื่อง ตลาดยังไม่อิ่มตัว มีคู่แข่งขันทางธุรกิจน้อย ผลดำเนินงานเติบโตเร็วแบบต่อเนื่องทั้งยอดขายและผลกำไร แต่อาจจะมีอัตราจ่ายปันผลต่ำ เมื่อเทียบกับผลกำไรที่ทำได้ (Payout Ratio) เนื่องจากต้องกันเงินบางส่วนเพื่อไปลงทุนต่อ หุ้นในกลุ่มนี้มักจะมีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) และ P/E ที่สูง เช่น ADVANC CENTEL LEO MINT เป็นต้น
ลักษณะของธุรกิจที่ราคาสินค้าผันผวนขึ้นลงมาก ตามวัฎจักร Demand & Supply หรืออาจมีความต้องการเฉพาะในช่วงสั้น ๆ เช่น ตามฤดูกาล ตามสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจาก Growth Stock ตรงที่ธุรกิจของ Growth Stock จะเติบโตเร็วอย่างต่อเนื่อง
หุ้นที่เป็นวัฏจักรมักจะมีผลกำไรผันผวนมาก จุดสูงสุดและต่ำสุดในช่วงวัฏจักรต่างกันหลายเท่าตัว ช่วงต่ำสุดอาจถึงขั้นขาดทุน ในรอบวัฏจักรจะกินเวลาหลาย ๆ ปี (ไม่ใช่ฤดูกาลในรอบ 1 ปี) ธุรกิจที่เป็นวัฏจักร เช่น ปิโตรเคมี, พืชผลต่างๆ, เดินเรือ, โรงกลั่นน้ำมัน, ถุงมือยาง เป็นต้น
ลักษณะของธุรกิจที่มีผลดำเนินงานดี และมีแนวโน้มอนาคตที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจใหญ่ ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าทางทฤษฎีมาก จึงมี P/E ต่ำ, P/BV ต่ำถึงปานกลาง ในอดีตคงหาหุ้น Value Stock ได้ง่าย
แต่ปัจจุบันจากการที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้นมามาก และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้หุ้นบางตัวที่ดูเหมือนหุ้น Value Stock ความเป็นจริงอาจไม่ใช่ก็ได้ เช่น WHA AMATA เป็นต้น
มีลักษณะเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนเงินปันผลสูง (Dividend Yield) มักเป็นหุ้นกิจการที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงไม่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนเท่าไหร่ ผลตอบแทนปันผลจึงสูงอาจเป็นหุ้นที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่ได้ขยายตัวสูงมาก จึงไม่ต้องใช้เงินสดเพื่อลงทุนขยายงานต่อมากนัก จึงสามารถนำมาจ่ายปันผลได้มาก หุ้นกลุ่มนี้มักจะจ่ายปันผลเฉลี่ยน 5% ขึ้นไปและจะต้องจ่ายปันผลต่อเนื่อง เช่น ORI SAWAD LH เป็นต้น
มีลักษณะเป็นหุ้นที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ยามเศรษฐกิจดี ธุรกิจของ Defensive จะได้ประโยชน์น้อยกว่าหุ้นอื่น แต่ยามเศรษฐกิจแย่ ธุรกิจของ Defensive ก็ได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก
มักเป็นหุ้นที่มีคู่แข่งน้อยราย หากมองภาพง่าย ๆ จะเป็นหุ้นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกลุ่มสาธารณูปโภค เช่น หุ้นโรงไฟฟ้า เป็นต้น
มีลักษณะเป็นหุ้นที่มีพฤติกรรมราคาผันผวนขึ้นและลงครั้งละมาก ๆ มีสภาพคล่องของการซื้อขายสูง มีจำนวนหุ้นเยอะ มักเป็นหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของธุรกิจสูง หุ้นประเภทนี้มีทั้งประเภทที่อยู่เป็นขาประจำ และขาจร หุ้นในกลุ่มนี้มีทั้งหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง และหุ้นขนาดเล็ก
แหล่งข้อมูล