คือ การศึกษาเรื่องของระบบเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ ได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การจ้างงานและการว่างงาน อัตราค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เพื่อที่จะอธิบายปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจถดถอย หรือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และสามารถวางแนวนโยบายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ โดยรวมให้ดีขึ้น หรือเพื่อตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ตั้งไว้
โดยเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค ในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน
ดังนั้น เครื่องมือของเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่ใช้ดำเนินนโยบายเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ แต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันด้วย เช่น
- นโยบายการคลังเพื่อเป้าหมายการกระจายรายได้
- นโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพในประเทศ
- นโยบายการค้าระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล