ใกล้ถึงวันสอบ อ่านหนังสืออย่างเดียวคงไม่พอ ต้องฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ ฝึกทำสรุปเนื้อหาแบบสั้น ๆ นอกจากนี้ต้องศึกษาเทคนิคการทำข้อสอบในห้องสอบจริง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้คะแนน และบริหารจัดการการสอบจริงได้ด้วย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
ข้อสอบที่ให้เราอ่านเรื่องยาว ๆ แล้วตอบคำถาม จริง ๆ แล้วเราไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมดก็ได้ ให้ฝช้วิธีหาจับใจความสำคัญ มองหาเนื้อหาท่อนสำคัญเป็นหลัก ซึ่งมักจะอยู่ต้นเรื่องและท้ายเรื่อง หรือใช้อีกวิธีคือ อ่านคำถามก่อนแล้วกลับไปอ่านเนื้อหา มองหาส่วนที่อธิบานในสิ่งที่ข้อสอบถาม ซึ่งวิธีเหล่านี้ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้มาก บริหารจัดกรเวลาได้ตามกำหนด มีเวลาเหลือ ค่อยกลับมาทวนเนื้อหาเต็ม ๆ อีกครั้ง เพื่อตรวจคำตอบก็ได้
ไม่จำเป็นต้องทำข้อสอบ โดยเรียงตามข้อ เราสามารถเลือกทำข้อไหนก่อนก็ได้ เน้นทำข้อที่ง่สยและคิดว่าทำได้ก่อน จะดีกว่าการไล่ทำทีละข้อไปตามลำดับหัวข้อคำถาม เพราะการเอาเวลาไปทิ้งไว้กับข้อที่เราคิดว่ายาก จะทำให้เราเสียเวลาในการทำข้อสอบข้ออื่น ๆ ที่เราอาจจะได้คะแนนจากข้อนั้น ๆ และยังทำให้มีโอกาสหมดเวลาสอบ ก่อนทำเสร็จอีกด้วย ควรให้ความสำคัญกับข้อที่ทำได้แน่ ๆ ก่อน เพื่อเก็บคะแนนส่วนนั้นไว้ ถ้าเวลาเหลือค่อยกลีบมาทำข้อที่ยากก็ได้
ข้อสอบอัตนัย คือข้อสอบเขียน วิธีการตอบเพิ่มคะแนนคือ ควรยกตัวอย่าง มีการมีอ้างอิงประกอบการตอบคำถาม จะช่วยให้คำตอบมีภาพที่ชัดเจนมากขึ้น และยังทำให้กรรมการเห็นถึงความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ ของเราด้วย สร้างความประทับใจให้กรรมได้ ก็ได้คะแนนเต็ม
การทำข้อสอบ ถ้าเห็นช้อยส์แล้วไม่แน่ใจว่าข้อไหนถูกที่สุด ให้ดูว่าข้อไหนไม่ใช่มากที่สุด ค่อย ๆ ตัดออกทีละข้อ สุดท้ายแล้วเราจะเจอข้อที่ใช่มากที่สุด เพราะข้อสอบบางประเภท จะเป็นช้อยส์คำตอบที่ถูกหมด ใช่ทั้งหมด แต่โจทย์มักจะถามว่าข้อไหน ถูกที่สุด จะเจอมากในวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
เวลาไม่พอ ทำไม่ทัน ก็ควรทำให้ครบทุกข้อ แต่ข้อไหนทำไม่ทัน ให้น้อง ๆ สุ่มเลือกคำตอบได้เลย ควรทำให้ครบทุกข้อ อย่างน้อยสิ่งที่เราสุ่มเลือกไป อาจจะถูกก็ได้ ยิ่งเป็นข้อสอบที่ไม่มีการหักคะแนน ข้อที่ตอบผิด ก็ควรจะทำให้ครบ เก็บให้หมดทุกข้อ สิ่งที่เราสุ่มคำตอบไป อาจจะเป็นคำตอบที่ถูก และได้คะแนนเพิ่มก็ได้
การตอบแบบทิ้งดิ่ง มีโอกาสตอบถูกจริงไหม ตอบได้ว่ามี เพราะโดยปกติแล้ว ข้อสอบจะเฉลี่ยคำตอบที่ถูกให้เท่า ๆ กัน เช่น จำนวนคำตอบมีช้อยส์ทั้งหมด 4 ข้อ จำนวนข้อที่ถูดจะไปเอียงไปข้อใดข้อหนึ่ง เช่นไม่เอียงไปที่ช้อนส์ที่ 1 มากที่สุด แต่ในทั้ง 4 ช้อยสื มักถูกเฉลี่ยให้มีคำตอบถูกเท่า ๆ กัน การทิ้งดิ่งถึงจะไม่ถูกทุกข้อ แต่ก็ต้องมีข้อที่เราได้คะแนนกลับมา อย่างน้อยก็ได้ ดีกว่าไม่ได้นะน้อง ๆ แต่วิธีนี้ควรใช้เฉพาะ กรณีที่ทำข้อสอบไม่ทัน เวลาใกล้จะหมดแล้วเท่านั้นนะ