Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

17 สิงหาคม ‘วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ’

Posted By trueplookpanya | 17 ส.ค. 66
1,374 Views

  Favorite

นี่พะยูนนะ..ไม่ใช่ปลา!!

หลายคนเข้าใจผิด และติดปากเรียกพะยูนว่าปลาพะยูน แต่ความจริงแล้วพะยูนไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 70 ปี

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ปัจจุบันพะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และ Trichechidae

1.    ครอบครัว Dugongidae พะยูนวงศ์นี้มีลักษณะหางเป็นแฉกคล้ายหางโลมาจัดจำแนกเป็น 2 สกุล

1.1  Hydrodamalis หรือ วัวสเตลเลอร์ มีขนาดลำตัวยาว 7.5 เมตร น้ำหนักมากถึง 5 ตัน และได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อปี 2311 ด้วยฝีมือมนุษย์

1.2  Dugong ลำตัวสีเทาอมชมพู มีขนประปรายตามลำตัว ยาว 3 เมตรและหนัก 200-300 กิโลกรรม

2.    ครอบครัว Trichechidae พะยูนวงศ์นี้มีลักษณะหางกลม หรือที่เรียกว่า ‘มานาตี’ มีสกุลเดียวคือ Trichechus ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน

2.1  Trichechus manatus มี 2 สายพันธุ์คือ T.m. manatus Linnaeus และ T.m. latirostris ลำตัวไม่มีขน มีสีเทาน้ำตาล ปลายครีบ มีเล็บ 3-4 เล็บ ลำตัวยาว 3.5-3.9 เมตร น้ำหนักมากถึง 1,590 กิโลกรัม

2.2  Trichechus inunguis มีขนาดเล็กที่สุดในและรูปร่างเพรียวลำตัวสีเทาเข้ม และมีแถบชมพูอ่อนที่ท้อง ปลายครีบไม่มีเล็บ ลำตัวยาว 3 เมตร หนัก 450 กิโลกรม

2.3  Trichechus Senegalensis อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลน้ำกร่อยและน้ำจืด ในประเทศเซเนกัล-ประเทศแองโกลาซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ลำตัวมีสีน้ำตาลเทายาว 34 เมตร หนัก 750 กิโลกรัม

พะยูนมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ

ทำหน้าที่ช่วยแพร่กระจายเมล็ดหญ้าทะเล เพราะเมล็ดหญ้าทะเลที่ถูกขับถ่ายออกมาจากพะยูน  สามารถงอกได้ดีกว่าปกติ และยังช่วยหมุนเวียนแร่ธาตุสารอาหารในแนวหญ้าทะเลอีกด้วย  เพราะพะยูนต้องพึ่งพาแนวหญ้าทะเล แต่ขณะเดียวกันถ้าหญ้าทะเลขาดพะยูนความสมบูรณ์ก็จะค่อยๆ ลดลงและส่งผลถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงชุมชนชายฝั่งที่ต้องอาศัยหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารอีกด้วย 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

จากการสำรวจสถานภาพพะยูนปี พ.ศ. 2565 ในทะเลไทยพบประชากรพะยูนประมาณ 273 ตัว โดยพบที่ฝั่งอ่าวไทยจำนวน 31 ตัว และฝั่งอันดามันประมาณ 242 ตัว

พะยูนถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส(Cites) และได้จัดอยู่ในบัญชีหมายเลข 1ลำดับที่ 86 ของบัญชีไซเตส ซึ่งเป็นสัตว์ที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัย และเพาะพันธุ์เท่านั้น

ถึงแม้ว่าประชากรพะยูนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังมีการเกยตื้นหรือการตายของพะยูนเกิดขึ้นทุกปี

ซึ่งสาเหตุการตายเกิดจากการเจ็บป่วย ลูกพะยูนที่พลัดหลงจากแม่ หรือถูกกระแทกด้วยของแข็ง เงี่ยงปลากระเบนแทง และจากเครื่องมือการประมง จึงอยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาเป็นหูเป็นตา เพื่ออนุรักษ์ให้พะยูนอยู่คู่กับท้องทะเลไทยตลอดไป

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: MGR Online, วิกิพีเดีย, คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • trueplookpanya
  • 0 Followers
  • Follow