Portfolio 10 หน้า ที่ต้องทำมีอะไรบ้าง เนื้อหาแบบไหนที่ควรใส่แล้วจะได้คะแนนจากกรรมการ เรื่องสำคัญที่ไม่รู้ไม่ได้ ถ้าทำผิดเกณฑ์ เนื้อหาไม่ตรงโจทย์ โอกาสไม่ติดมีสิทธิ์เกิดขึ้นทันที มาดูกันว่า 10 หน้า ที่ควรมีใน Portfolio มีอะไรบ้าง
หน้าปกไม่ถูกนับรวมใน 10 หน้า แต่ก็ควรออกแบบให้ออกมาดีและดึงดูดกรรมการ การออกแบบต้องเรียบ อ่านแล้วเข้าใจง่าน ใช้สีสันที่พอเหมาะ อย่าใส่กราฟฟิกมาจนเกินไป จะทำให้กรรมการตาลายได้ เน้นออกแบบให้ดูดีแต่ต้องคงไว้ในความเรียบร้อย อ่านเข้าใจง่าย ข้อมูลครบ ห้ามพิมพ์ผิดเด็ดขาด
สามารถใส่ข้อมูลได้ตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น หรือเลือกเฉพาะมัธยมปลายก็ได้ ทำได้ทั้ง 2 รูปแบบ แต่ข้อมูลต้องชัดเจนและเป้นความจริง เกรดต้องเป็นเรื่องจริงเท่านั้น ควรใส่ทั้ง GPAX และคะแนนรายวิชา และคะแนนรวมแยกรายวิชา เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องมี เพราะเป็นหนึ่งในเกณฑ์คัดเลือก และแสดงออกว่าเรามีทักษะเด่นด้านไหนเป็นพิเศษ
เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิชาที่สมัครเข้ามา มีความฝันอย่างไร ทำไมถึงสนใจด้านนี้ เป้าหมายในอนาคตเกี่ยวกับสิ่งนี้คืออะไร รวมทั้งคิดว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนด้านนี้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดอนาคต เป็นข้อมูลการบอกเล่าถึงทัศนคติที่เรามีต่อการเรียนในด้านนั้น ๆ และเป็นการแสดงถึงชุดความรู้ว่า เรามีความรู้ครอบคลุมในเรื่องการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เลือกสมัครมากขนาดนั้น เป็นการบ่งบอกว่า เรามีการหาข้อมูลและศึกษามาอย่างดี
เคยประกวดแข่งขันอะไร ที่เป็นผลงานของเรา เอามาใส่ในหัวข้อนี้ได้หมด เน้นเฉพาะผลงานที่โดดเด่น และควรมีผลงานที่เกี่ยวกับสาขาที่สมัครด้วย ซึ่งควรเป็นผลงานหลักที่จำเป็นต้องใส่ลงไป ประวัติผลงานจะเป้นสิ่งที่การันตีทักษะเราในด้านนั้น ๆ ว่าดีและเชี่ยวชาญขนาดไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่กรรมการให้ความสำคัญมาก ยิ่งมีทักษะเฉพาะด้านตรงกับสาขามากเท่าไหร่ ก็มีสิทธิ์ได้คะแนนมากขึ้น
กิจกรรมที่เคยทำมาในโรงเรียน หรือกิจกรรมนอกสถานที่ สามารถเอามาใส่ได้หมด เป็นได้ทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวกับสาขาที่สมัคร และกิจกรรมอื่นที่สนใจส่วนตัว ข้อมูลตรงนี้เป็นการใส่เพื่อ ให้กรรมการเห็นว่า เรามีประสบการณ์ด้านไหนมาบ้าง และมีทักษะที่หลากหลายด้านไหนบ้าง ให้กรรมการเห้นถึงสิ่งที่เราชอบและสนใจ เพราะกรเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเพียงแค่กิจกรรมสาขาที่เรียนเท่านั้น น้อง ๆ อาจจะได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งความสนใจและทักษะทั้งหมด สามารถใช้ต่อยอดการเรียนได้
ชิ้นงานต่างจากประวัติผลงานการประกดวด ชิ้นงาน คือสิ่งที่เราทำเองขึ้นมาใหม่ เพื่อเก็บเป็น Portfolio และนำออกเผยแพร่บนสื่อต่าง ๆ เป็นการเก็บรวบรวมผลงาน ที่เกิดจากทักษะเฉพาะด้านของเรา ซึ่งสามรถนำมาใส่ให้กรมการดูได้ ว่าเรามีความสามารถและผลิตชิ้นงานออกมาได้ดีแค่ไหน เช่น ผลิตคลิป, ผลงานการตัดต่อ, ภาพวาด, ออกแบบกราฟฟิก, ออกแบบแอนนิเมชั่น, ประดิษฐ์หรือประกอบหุ่นยนต์ เป็นต้น
1. คำนำ
2. สารบัญ
3. จดหมายขอบคุณ