Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทำ Portfolio ให้ปัง ตรงโจทย์ ต้องทำอย่างไร

Posted By Plook TCAS | 26 ก.ค. 66
2,744 Views

  Favorite

Portfolio ทำให้ออกมาปัง สอบติด TCAS 1 ตรงใจกรรมการ มีรูปแบบไม่ยาก แต่ต้องมีให้ครบและตรงโจทย์ คำว่าตรงโจทย์สำคัญแต่หลายคนก็พลาด เรามาดูวิธีการที่ต้องรู้ เพื่อทำความเข้าใจ แล้วกลับไปทำ Portfolio ให้สอบติด TCAS รอบ 1 กันดีกว่า

 

Portfolio ตรงโจทย์มีอะไรบ้าง

เช็คโจทย์ก่อนทำ Portfolio

สำคัญที่สุดคือโจทย์การทำ Portfolio ต้องไปเช็คระเบียบการของสาขาวิชาที่สมัครก่อนว่า เกณฑ์การให้คะแนนมีอะไรบ้าง เนื้อหาสำคัญที่กำหนดใน Portfolio มีไหม มีอะไรบ้าง เพราะการทำ Portfolio ไม่สามารถทำแล้วใช้ได้กับการสมัครทุกสาขาวิชา สมัครสาขาใหม่ก็ต้องเอา Portfolio ที่ทำไว้ มาเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ เพราะเนื้อหาที่ควรใส่ต้องเกี่ยวข้องในสาขาที่ยื่นสมัคร จะสมัครกี่สาขาก็ได้ แต่ต้องดูระเบียบการของแต่ละที่ แล้วต้องทำ Portfolio แยกแต่ละสาขาวิชาเลย แม้จะเป็นสาขาวิชาเดียวกัน แต่คนละมหาวิทยาลัย ก็ควรต้องทำแยกกัน เพราะบางทีโจทย์การทำต่างกัน เบื้องต้นต้องเช็คเรื่องนี้ให้ละเอียดก่อนเริ่มทำ Portfolio

 

Portfolio ต้องมีแค่ 10 หน้า 

เกณฑ์การทำ Portfolio กำหนดไว้ที่ 10 หน้า ก็ต้องทำแค่นั้น ซึ่ง 10 หน้าเป็นจำนวนของเนื้อหาไม่รวมปก การใส่เนื้อหาทั้งหมดต้องเรียงลำดับเรื่องให้ดี จัดเนื้อหาแยกเป็นหมวด เพื่อให้กรรมการอ่านและเข้าใจง่าย คำนำ, คำขอบคุณปิดจบ ไม่ต้องมี แต่ต้องไม่ลืมใส่ประวัติสำคัญลงไปด้วย แต่อย่ายาวเกินไป เดี๋ยวจะไม่พอใส่เนื้อหาที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่สมัคร

 

อยากให้กรรมการเห็นเนื้อหามากกว่า Portfolio 10 หน้า ทำยังไง

หลายคนบอกว่ามีเนื้อหาที่สำคัญอีก ผลงานก็มีอีก แต่ไม่พอใส่ 10 หน้า มีทางไหนบ้างที่จะให้กรรมการเห็นผลงานเพิ่ม วิธีก็คือการนำผลงานลงบนออนไลน์ แล้วแนบชื่อผลงานให้กรรมการเปิดดูเพิ่มเติมได้ เช่น ทำคลิป ก็อัพโหลดคลิปลงออนไลน์ แนบชื่อคลิปหรือลิงค์ใน Portfolio ให้กรรมการเปิดดูเพิ่มเติมได้ แต่เนื้อหาเหล่านี้ก็ต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สมัครด้วย อย่าใส่อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป เพราะทำไปก็ไม่ได้คะแนนจากกรรมการ

 

เนื้อหาแบบไหนโกยคะแนนจากกรรมการได้

อยากทำ Portfolio แล้วได้คะแนนนั้นมีแค่จุดสำคัญอย่างเดียวเลยคือ เนื้อหาต้องเกี่ยวกับสาขาวิชาที่สมัคร อย่าใส่อะไรไปเยอะแต่ไม่เกี่ยวข้อง ผลงาน กิจกรรม ทักษะพิเศษ ควรเลือกสิ่งที่เกี่ยวข้องมาใส่ใน Portfolio เพราะนั้นคือส่วนสำคัญที่กรรมการมองหา และเป็นจุดที่ได้คะแนนมากที่สุด เช่น อยากเข้าวิศวะ ใส่ไปเลย ผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เกียรติบัตรที่เคยได้รับรางวัล ภาพผลงานที่การันตีว่าเราทำจริง ประวัติกิจกรรมที่เคยทำด้านวิศวกรรม ผลคะแนนแข่งขันด้านวิชาการของสายวิทย์ ผ่านการเข้าค่ายทางวิศวะ เคยไปฝึกงานเรียนรู้อาชีพวิศวะในหน่วยงานหรือบริษัทเอกชน เป็นต้น นี่คือตัวอย่างที่สำคัญและเกี่ยวข้องตรงโจทย์ และจะได้รับคะแนนที่สูงจากกรรมการ 

 

เรียกคะแนนเสริมจากกรรม ได้จากอะไรบ้าง

หลักแนนหลักมีอยู่แล้ว แต่กลัวคู่แข่งมีเหมือนกัน ใส่อะไรแล้วได้คะแนนเสริมบ้าง สิ่งที่จะได้คือทักษะพิเศษที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ซึ่งทักษะนั้นจะต้องสำคัญและเสริมการเรียนในสาขาวิชานั้น และต่อยอดในอาชีพด้านนั้น ๆ ได้ เช่น อยากเข้าแพทย์ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์แลการแพทย์ต้องมีเป็นหลักอยู่แล้ว แต่ทักษะเสริมที่อาจจะได้คะแนนเพิ่ม เช่น เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ นักกีฬาวิ่ง มีทักษะการวาดภาพ เล่นดนตรีเป็น เป็นประธานนักเรียน ทำกิจกรรมอาสาช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือทางสาธารณสุข ทั้งหมดนี้สามารถเสริมการเรียนและอาชีพแพทย์ได้หมด เป็นจุดเสริมว่าเราสามารถเรียนด้านนี้ได้ดี

 

อย่าเสียเวลาทำสิ่งที่ไม่ใช่คะแนน

เรื่องนี้ต้องย้ำเลยว่า อย่าทำในสิ่งที่ไม่ใช่คะแนนให้เสียเวลา เอาเวลาทั้งหมดไปเตรียมเนื้อหาที่เราจะได้คะแนนดีกว่า เนื้อหาสำคัญที่สุดเลือกใส่ไปก่อน มีเวลาเหลือค่อยมาทำส่วนที่สำคัญน้อย โดยเฉพาะการประดับตกแต่ง Portfolio เรื่องสีสัน กราฟฟิก ไม่ใส่สิ่งจำเป็น Portfolio ที่ดีควรเรียบง่าย อ่านง่าย เนื้อหาเป็นระเบียบเรียบร้อย สีสันสะอาดสบายตา เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะจุดสำคัญคือเนื้อหาด้านในที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา แต่ถ้าน้อง ๆ สมัครเรียนสาขาวิชาด้านการออกแบบ ก็อาจจะต้องมีการออกแบบ Portfolio ให้สวยงาม มีเรื่องของศิลปะเข้าไปตกแต่ง แต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตเดียวกันคือ สะอาด สบายตา เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาด แค่ทำให้กรรมการเห็นว่า เรามีทักษะการออกแบบเท่านั้นพอ

 

มีผลงานแต่ไม่เคยชนะการประกวดเลย ใส่ได้ไหม

ไม่เคยชนะการประกวดเลย ก็ใส่ผลงานลงไปได้ เพราะทุกผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา จะบ่งบอกว่าเรามีทักษะที่ตรงจุด มีประสบกรณ์การทำงานและผ่านการเรียนรู้ด้านนี้มาแล้ว เหมาะที่จะเรียนในสาขาวิชานี้และเรียนได้ดีในอนาคต นั้นคือส่วนสำคัญที่กรรมการให้ความสนใจ เพียงแต่ถ้าผลงานได้รับรางวัลก็อาจจะได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นนั้นเอง แต่ถึงไม่ชนะก็ใส่ลงไปได้

 

ไม่เก่งเรื่องออกแบบ จะทำ Portfolio รอดไหม

ไม่เก่งศิลปะ ออกแบบไม่เป็น ใช้โปรแกรมตกแต่งไม่เก่ง จะทำ Portfolio ได้คะแนนจากกรรมการไหม เป็นเรื่องที่น้อง ๆ กังวลกันมาก แต่เป็นการกังวลที่ผิดจุด เพราะเราไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอันดับต้น เรื่องนี้คือเรื่องท้าย ๆ ที่เราต้องให้ความสำคัญ น้องต้องใส่ใจในเนื้อหา ผลงาน ที่จะเอาไปใส่ใน Portfolio 10 หน้าเป็นหลัก เพราะเนื้อหาที่จะได้คะแนนสำคัญมากและต้องเกี่ยวข้องในสาขาวิชา ส่วนการตกแต่งให้สวยงามทำได้ แต่ไม่ต้องทุ่มเทเรื่องนี้มาก เน้นเป็นเรื่องเสริมจะดีกว่า เพราะไม่ใช่จุดที่เราจะได้คะแนนจากกรรมการ ขอแค่เพียงทำออกมาให้เรียบร้อย สะอาด อ่านเข้าใจง่าย ก็พอแล้ว 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow