Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคทำคลิปประกอบ Portfolio

Posted By Plook TCAS | 26 ก.ค. 66
3,155 Views

  Favorite

Portfolio สามารถมีคลิปประกอบได้ เป็นเทคนิคสำคัญที่อาจได้คะแนนเพิ่มจากกรรมการ การนำเสนอผ่านคลิปช่วยสร้างความน่าสนใจ และการจดจำให้กรรมการได้ เราสามารถอัพโหลดคลิปลงในไฟล์บนออนไลน์ แนบใส่ใน  Portfolio เพื่อให้กรรมการเปิดดูเพิ่มเติมได้ แต่ควรเป็นเนื้อหาที่สำคัญ เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เรียน และทำให้ออกมาน่าสนใจ เพื่อเรียกคะแนนเพิ่มนั้นเอง

 

1. เนื้อหาและความยาวคลิป

    ควรทำคลิปออกมาให้กระชับเรื่องเวลา อย่ายาวเกินไป เน้นเนื้อหาที่สำคัญน่าสนใจ ต้องเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่สมัคร จะโชว์ผลงาน หรือนำคลิปที่ถ่ายไว้ระหว่างประกวดแข่งขัน ทำกิจกรรม ทำจิตอาสา เข้ามาใส่ในคลิปได้หมด แต่ต้องเรียงลำดับการเล่าเรื่องที่กระชับ น่าสนใจ ดูแล้วเข้าใจง่าย อย่าทำคลิปออกมายืดเยื้อ เพราะจะไม่น่าสนใจ และทำให้กรรมการไม่อยากดูต่อ ซึ่งจะไม่ได้รับคะแนนจากกรรมการ เนื้อเรื่องในคลิปสำคัญ ถ้าจะทำคลิป ต้องเรียบเรียงเรื่องที่จะใส่ลงไปให้ดี ต่อเนื่องให้ดูแล้วเชื่อมโยงไม่ขัด 

 

2. แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่เว่อร์จนเกินไป 

    เนื่องจากเป็นคณะแพทย์ การแต่งการควรสุภาพ เหมาะสมในระดับหนึ่ง สีสันเสื้อผ้าควรอยู่ในโทนที่สบายตา ไม่ฉูดฉาด สะอาดเรียบร้อย บ่งบอกถึงการดูแลตัวเองและความมีระเบียบผ่านบุคลิกภาพ ชุดลำลองใส่ได้ แต่ต้องให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม นอกจากเรื่องเสื้อผ้า เรื่องผม เล็บ ใบหน้า ควรดูแลออกมาให้เรียบร้อยสะอาด แต่งหน้าเพิ่มความมั่นใจได้ แต่โทนสีต้องสุภาพสดใส เหมาะสมกับวัยเรียน บุคลิกภาพเป็นเรื่องสำคัญ ต้องดูแลให้ดี

 

3. มีความมั่นใจ สื่อสารรู้เรื่อง

    ถ้าเป็นคลิปที่ต้องพูดหรือแสดงออก ต้องมีความมั่นใจในเรื่องที่พูด ต้องพูดรู้เรื่อง ขณะเดียวกันต้องกระชับ ฟังเข้าใจได้ทันที อย่างพูดวกวนเรื่องเดิม ควรจะสื่อสารด้วยประโยคที่ชัดเจนตรงไปตรงมา และสำคัญคือต้องสุภาพ ไม่มีคำหยาบ ไม่มีคำสุ่มเสี่ยง เลือกใช้คำที่มีความหมายในทางที่ดี เรียบเรียงเรื่องที่จะพูดอย่างเป็นระบบ ท่าทางในการพูดก็ต้องออกมาดี ยืนในท่าที่เหมาะสม นั่งต้องดูการวางขาให้ดี อย่าอ้าขา หรือไขว่ห้างออกกล้อง บุคลิกภาพทั้งหมดนี้สำคัญ อย่าลืมว่าคนที่ดูคลิปเราคือคนที่โตและอายุเยอะกว่า ต้องคิดเสมือนว่า เรากำลังพูดต่อหน้ากรรมการ อะไรที่ไม่ควรอย่าทำ 

 

4. การตัดต่อวิดีโอ 

    สิ่งแรกคือต้องเรียงลำดับเรื่องก่อนว่า ความยาวจะเอาเท่าไหร่ ความยาวทั้งหมด จะเริ่มต้นเล่าเรื่องแบบไหน เรียงคลิปไหนก่อนหลัง เนื้อเรื่องต้องต่อกันไหล่ลื่น ต้องตัดให้กระชับและเนียนในระยะที่คลิปเชื่อมต่อกัน เสียงในคลิปต้องดูให้ละเอียดว่ามีเสียงแทรกไหม เสียงต้องชัดเจน แสงสำคัญอย่ามืดหรือสว่างเกินไป

    การใส่เอฟเฟค ทำได้แต่อย่ามากเกินไป ใส่แค่ช่วงสำคัญหรือต้องการเน้น ใส่เยอะไปจะทำให้ความรู้สึกในการดูไม่ไหล่ลื่น การใส่อุปกรณ์ตกแต่งในคลิปทำได้ แต่ไม่ต้องเยอะ เน้นใช้ไม่กี่อย่างก็พอ เสียงเอฟเฟคต้องเลือกให้เหมาะสม อย่าดังเกินเสียงคนพูด เลือกใส่ให้ถูกจังหวะ ห้ามใส่เยอะเต็มคลิป จะสร้างความน่ารำคาญในการฟังได้ 

    ไฟล์ในการ Save ดูให้ดี คลิปต้องออกมาแล้วชัด ภาพไม่แตก ภาพไม่กระตุก เสียงไม่สะดุด โทนสีต้องถูกต้องตามต้นฉบับ ขนาดไฟล์ต้องตรงตามช่องทางที่จะเอาไปอัพโหลด Save ออกมาแล้ว ควรดูตั้งแต่ต้นจนจบอีกครั้ง เพื่อเช็คความถูกต้อง

 

5. ช่องทางในการอัปโหลดคลิป

    เลือกช่องทางอัพโหลดที่ถนัด และกรรมการสามารถเปิดดูได้สะดวก อัพโหลดแล้วต้องเช็คว่า คุณภาพคลิปเหมือนต้นฉบับไหม ชื่อหัวข้อคลิปต้องใส่ให้ถูก ต้องไม่ลืมเปิดการเข้าถึงคลิปเป็นสาธารณะ ให้กรรมการเข้าดูได้ เรื่องนี้สำคัญนะ บางคนทำเสร็จอัพโหลดแล้ว ลืมเปิดสาธารณะ กรรมการเปิดดูไม่ได้ ก็ไม่ได้คะแนนในส่วนนี้ ไม่ต่างอะไรกับการทำเสียเปล่า

 

สิ่งที่ไม่ควรทำในการถ่ายคลิป

1. เลือกถ่ายคลิปในสถานที่ที่แสงไม่ได้ และมีเสียงรบกวน

2. เลือกสถานที่บันทึกวิดีโอไม่เหมาะสม เช่น ห้องนอน พื้นที่ที่ไม่สะอาด พื้นที่ห้ามถ่าย สถานบันเทิง สถานที่ที่รบกวนผู้อื่น

3. อย่าอ่านสคริปต์ เพราะจะไม่เป็นธรรมชาติ ควรจำเรื่องที่จะพูดในหัวให้เข้าใจ หรือเรียบเรียงมาเป็นประโยค และฝึกพูดให้ไหล่ลื่น 

4. อย่ามองแต่กล้องนิ่ง ๆ อย่างเดียว จะดูแข็งทื่อเกินไป ควรมีการสื่อสารทางร่างกายแบบตามธรรมชาติ ให้สอดคลองกับเรื่องที่พูด ปล่อยตามธรรมชาติ เช่น ยกมือ ผายมือ ขยับตัว ขยับหัว สามารถทำได้ตามธรรมชาติ แค่อยู่ในความเหมาะสม ถ้ายืดพูดนิ่ง ๆ นานๆ จะแข็งทื่อและไม่น่าสนใจ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook TCAS
  • 29 Followers
  • Follow