ChatGPT เป็นแชทบอทที่ได้รับความนิยมจาก OpenAI ที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีที่ชื่อว่า GPT-3.5 ซึ่งเป็นอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) เพื่อสร้างและสร้างความเข้าใจในภาษาธรรมชาติ แนวคิดหลักของ ChatGPT คือการสร้างโมเดลที่สามารถ "พูดคุย" กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากที่ถูกให้คำตอบกับคำถามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในแบบทดสอบ
ChatGPT สามารถใช้ในหลากหลายกรณีการใช้งาน เช่น เป็นผู้ช่วยตอบคำถามเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือความรู้ทั่วไปอย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่ต้องค้นเอง หรือช่วยในการแปลภาษา ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้า หรือแม้กระทั่งเล่นเกมกับ ChatGPT ก็ทำได้
ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ใช้ ChatGPT เพื่อการตลาด ขอยกตัวอย่างบางส่วน ได้แก่
1. SnatchBot เป็นบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์ม Chatbot และ AI สำหรับธุรกิจ พวกเขาใช้ ChatGPT เพื่อสร้างและพัฒนา Chatbot ที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างประณีต โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึกและศาสตร์อัจฉริยะทางภาษาเพื่อให้คำตอบที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
2. LivePerson เป็นบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มการสื่อสารลูกค้าออนไลน์ พวกเขาใช้ ChatGPT เพื่อให้แน่ใจว่า Chatbot ของพวกเขามีความสามารถในการเข้าใจและตอบคำถามของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงลึกทางภาษา
3. ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการใช้ ChatGPT เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์แชทบอทที่ชื่อว่า "Khun Nong" เพื่อให้ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคารได้อย่างง่ายดายผ่านแชทบอท รวมถึงตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนอื่น ๆ
แต่การใช้ Chatbot ช่วยทำการตลาดก็ไม่ได้มีแค่ตอบแชทลูกค้า ถามตอบคำถามทั่วไปอย่างเดียว ยังมีการใช้แชทบอทในการสร้าง Outline สำหรับ Email-Marketing, หาไอเดียเกี่ยวกับเครื่องมือทางการตลาด, ช่วยค้นคว้าเนื้อหา, สร้างแบบสำรวจและวิเคราะห์ลูกค้าได้ตามช่วงอายุอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือการตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง ช่วยให้นักการตลาดสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับแก้กลยุทธ์การตลาดให้ดีขึ้นได้
วิธีใช้งานก็ง่ายนิดเดียว โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://chat.openai.com/ แล้วใช้คำสั่ง Prompt ในช่องพิมพ์คำสั่งเพื่อให้แชทบอททำตามคำสั่งที่เราต้องการ ทั้งนี้ยังต้องป้อนคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ
นักการตลาดสามารถสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในเวลาเพียงไม่กี่นาทีด้วยความช่วยเหลือของผู้ช่วยอัจฉริยะ ChatGPT ในการเขียน Outline เนื้อหา เช่น อีเมล, บล็อกโพสต์, Ad Copy หรือแคปชั่นบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งแน่นอนว่าภาษาที่ได้อาจทื่อไปนิด แต่ข้อดีก็คือเราสามารถใช้เนื้อหาเหล่านั้นเป็น Outline ในการเขียนเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาได้มากขึ้น
เช่น ในตัวอย่างเราใช้คำสั่งเพื่อให้แชทบอทช่วยเขียน Email Marketing เพื่อส่งให้ลูกค้าเนื่องในโอกาสที่คอร์สเรียนออนไลน์ลดราคา 80%
ในการทำการตลาด สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากแค่ไหน ? บางครั้งการได้มาซึ่งข้อมูล Insight เพื่อที่จะเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ อาจทำให้เสียทรัพยากรทั้งเงินและเวลาไปมาก แต่ ChatGPT สามารถช่วยให้นักการตลาดเข้าใจกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงอายุได้เพียงแค่ป้อนคำสั่งใน OpenAI Playground
เช่นในตัวอย่าง เราป้อนคำสั่งเกี่ยวกับการซื้อ Airpod ทำให้เห็นความคิดของคนแต่ละ Generation ที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ Baby Boomer ที่คิดว่ามันแพงไป, Gen X ที่คิดว่าเจ๋งมาก และ Millennials ที่ต้องมีเพราะเสริมสไตล์ให้โดดเด่น ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้ข้อมูลนี้วางแผนโปรโมทสินค้าได้
โดยรวมแล้ว Chatbot คงกลายเป็นเครื่องมือผู้ช่วยทำการตลาดได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะการทำเนื้อหาคอนเทนต์และ Ad Copy แต่ทั้งนี้แชทบอทก็ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน ซึ่งนักการตลาดหลายคนให้ความคิดเห็นว่า ไม่ควรใช้แชทบอทช่วยทำ Marketing Strategy หรือวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพราะฐานข้อมูล (Database) ของแชทบอทมีอยู่ถึงแค่ปี 2021 เท่านั้น และการทำกลยุทธ์การตลาดต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ บวกกับความคิดสร้างสรรค์และทันสมัย
ไม่แนะนำให้ใช้ Chatbot ช่วยทำการตลาด ดังต่อไปนี้
แนะนำกลยุทธ์การตลาด Marketing strategy
ทำ Google Ads campaigns
ใช้เป็นเครื่องมือหา Keyword research
ใช้มอนิเตอร์เว็บไซต์
รีพอร์ตและวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด