มาตรา 67 : ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30 ส่วนในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30
สรุปได้ว่า ถ้าลูกจ้างลาออกเองก็จะสามารถใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม*ทั้งหมดได้ ถ้าบริษัทไม่อนุญาติให้ใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม บริษัทก็จะต้องจ่ายเป็นเงินคืนกลับมาตามจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่เหลืออยู่ ส่วนสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี*นั้น ๆ ถ้าลูกจ้างยื่นลาออกเอง สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือวันลาพักร้อนตามส่วน (Prorate) ในปีที่ลาออกนั้นอาจถูกยกเลิกหรือลดวันลง (อ้างอิงตามมาตรา 67 ของกฎหมายแรงงาน)
หมายเหตุ
วันหยุดพักผ่อนประจำปี = ตามกฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี จะต้องได้หยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วัน/ปี
วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม = วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่พนักงานไม่ได้ใช้สิทธิลาในปีนั้น เช่น ในปี 2565 นางเอได้วันหยุดพักผ่อนประจำปี 10 วัน แต่นางเอใช้สิทธิลาไปแค่ 6 วัน อีก 4 วันที่เหลือจึงกลายเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ซึ่งจะไปรวมอยู่กับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2566 (นโยบายแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกัน บางบริษัทอาจไม่ให้สะสมหรือยกวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่เหลือก็ได้)
แหล่งข้อมูล