มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีปริมาณฝนตกต่อปีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร ป่ามีลักษณะเป็นเรือนยอดไม้แบบปิด ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก จึงไม่จำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ เราเรียกป่านั้นว่า ‘ป่าฝน’
มีอาณาเขตติดกับแนวเขตชายแดนประเทศมาเลเซีย ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าและป่าไม้ จนได้รับฉายาว่า ‘แอมะซอนแห่งอาเซียน’
หลายชนิดเป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น กระทิง, เซียมมัง หรือชะนีดำใหญ่ ที่แพร่พระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายูจนถึงเกาะสุมาตรา โดยพบที่นี่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกจำนวน 10 ชนิด จากทั้งสิ้น 13 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะนกเงือกกรามช้างปากเรียบที่อพยพมาในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งได้รับแจ้งจากกลุ่มคนดูนกถ่ายภาพสัตว์ป่าในธรรมชาติว่า
มีการอพยพลงใต้ประมาณ 3,000 ตัว จึงถือว่า ‘ป่าฝน’ มีความหลากทางชีวภาพมากที่สุดในโลก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: วิกิพีเดีย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, dairyNews