เลือดของมนุษย์มีสีแดง ประกอบไปด้วย เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และพลาสมา ส่วนประกอบของเลือดแต่ละอย่างมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป และหน้าที่หนึ่งที่สำคัญมากก็คือ การต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา โดยมีเม็ดเลือดขาวอยู่เพียง 1% ของเลือดทั้งหมดซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนทหารออกรบ
เม็ดเลือดขาวหรือเรียกอีกอย่างว่า ลิวโคไซต์ (Leukocytes) แบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ละชนิดทำหน้าที่ป้องกันการเจ็บป่วยหรือโรคภัยต่าง ๆ โดยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป
เป็นเม็ดเลือดขาวที่สร้างจากไขกระดูกและมีจำนวนมากที่สุดคือประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด จำนวนของนิวโทรฟิลในเลือดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ แต่ระดับนิวโทรฟิลในเลือดปกติจะอยู่ระหว่าง 1,500 ถึง 8,000 นิวโทรฟิลต่อไมโครลิตร
นิวโทรฟิลถือเป็นด่านป้องกันแรกในบรรดาเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ต่อสู้กับแบคทีเรียและเชื้อราโดยวิธีปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายและกินแบคทีเรียเรียกว่า ฟาโกไซโทซิส จากนั้นจะตายไปพร้อมกับแบคทีเรียและกลายสภาพเป็นหนอง นอกจากนี้ในฐานะผู้เผชิญหน้ากับเชื้อโรคเป็นด่านแรก มันยังทำการส่งสัญญาณเตือนเซลล์อื่น ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มายังบริเวณที่มีเชื้อโรคด้วย
นิวโทรฟิลมีอายุสั้นมาก นั่นคือมีอายุน้อยกว่า 1 วันหรือประมาณ 8 ชั่วโมงเท่านั้น ร่างกายของเราจึงมีการสร้างนิวโทรฟิลขึ้นมาใหม่จากไขกระดูกอยู่เสมอ กรณีที่นิวโทรฟิลสูงผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคเหล่านี้
- โรคข้อรูมาตอยด์และโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง
- อาการระคายเคืองและเป็นแผลในลำไส้ใหญ่
- เนื้อเยื่อเสียหายจากการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บ
- เสียเลือด
- ไตวายเฉียบพลัน
- ภาวะกรดในเลือดสูงจากเบาหวาน
- หัวใจวาย
- ภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน
เป็นเม็ดเลือดขาวที่ผลิตขึ้นจากไขกระดูก มีอายุสั้นเพียง 1-2 วัน และมีปริมาณเพียงเล็กน้อยหรือ 0.5-1% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมดเท่านั้น โดยทั่วไปเราควรมีเบโซฟิลอยู่ที่ประมาณ 0-300 เบโซฟิลต่อไมโครลิตร
เมื่อมีการติดเชื้อเบโซฟิลเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ "เฝ้าระวัง" พวกมันสามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่หลั่งสารฮีสตามีนซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบได้ อวัยวะที่อาจถูกกระตุ้นด้วยฮีสตามีนได้แก่ ตา คอ ปอด จมูก ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร
ระดับเบโซฟิลสูง ระดับที่สูงขึ้นของเบโซฟิลเชื่อมโยงกับสภาวะบางอย่าง หากเปอร์เซ็นต์ของเบโซฟิลสูงกว่าปกติ อาจมาจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- โรคอีสุกอีใส
- ปฏิกิริยาการแพ้
- โรคหลอดเลือดคอลลาเจน
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง myelogenous ชนิดของมะเร็งไขกระดูก
- โรคไขกระดูก
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
ปริมาณของอีโอซิโนฟิลในเลือดมีอยู่ประมาณ 2-5% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมด อีโอซิโนฟิลพบได้มากในทางเดินอาหาร เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ต่อสู้กับปรสิตโดยวิธีฟาโกไซโทซิสเช่นเดียวกับนิวโทรฟิล โดยจะทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์หรือฮิสตามีนเพื่อทำลายพยาธิต่าง ๆ พวกมันมีความสำคัญมากในการตอบสนองการติดเชื้อปรสิต
เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รูปร่างของนิวเคลียสมีลักษณะคล้ายไต อยู่ในกระแสเลือด มีอายุยาวนานกว่าเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น ๆ ปริมาณของโมโนไซต์คือ 5-12% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มีหน้าที่กำจัดได้ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และปรสิต โดยวิธีฟาโกไซโทซิส และทำหน้าที่คล้ายรถขนขยะ คือทำความสะอาดเซลล์ที่ตายแล้วในร่างกายโดยลำเลียงไปที่ต่อมน้ำเหลือง หากอยู่ในเนื้อเยื่อจะเรียกเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ว่า แมกโครฟาจ (Macrophage)
ส่วนใหญ่พบในระบบน้ำเหลือง แบ่งเป็น NK Cell เปรียบเสมือนนักฆ่า จะโจมตีโดยตรงและฆ่าเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น กำจัดไวรัสและเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังมี B Cell ซึ่งทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกาย ผลิตแอนติบอดีและจดจำการติดเชื้อ และ T Cell ซึ่งแบ่งเป็น T-cytotoxic ทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อหรือพวกไวรัสที่ซ่อนอยู่ในเซลล์โดยตรง และ T-helper cell จะทำหน้าที่กระตุ้น B cell ให้เปลี่ยนสภาพเป็น plasma cell และสร้างแอนติบอดี เพื่อสู้รบกับแบคทีเรีย ไวรัส และผู้บุกรุกที่อาจเป็นอันตรายอื่น ๆ T Cell ยังจดจำผู้บุกรุกหลังจากการติดเชื้อและตอบสนองอย่างรวดเร็วหากพบเห็นอีกครั้งด้วย