Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีช่วยเหลือคนอยากฆ่าตัวตาย

Posted By Plook Creator | 30 พ.ค. 66
2,671 Views

  Favorite

ในทุกๆ วันของคนเราย่อมพบเจอกับปัญหาหรืออุปสรรคในชีวิตไม่มากก็น้อย ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักมีวิธีรับมือและจัดการกับปัญหาทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ที่ดูเหมือนไร้หนทางแก้ บางคนอาจตัดสินใจเลือกการปลิดชีพตัวเองเป็นทางออก นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยทางด้านสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ที่มีอาการรุนแรงจนนำไปสู่ความคิดฆ่าตัวตายได้นั้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการดูแลสภาพจิตใจและเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการร้ายขึ้นได้ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใกล้ชิดต้องรู้วิธีรับมือและช่วยเหลือคนที่พยายามฆ่าตัวตายอย่างถูกวิธี

 

ภาพ : Solid photos - shutterstock

 


สัญญาณเตือนว่ากำลังคิดฆ่าตัวตาย

- บ่นว่ารู้สึกว่างเปล่า สิ้นหวัง ไม่มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อ
- บ่นว่าเบื่อชีวิต อยากตาย
- พูดเกี่ยวกับความรู้สึกผิดหรือละอายใจมาก
- พูดว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น
- เก็บตัว ปลีกตัวเองออกจากสังคมและกลุ่มเพื่อน
- พูดถึงการฝากฝังสิ่งสำคัญ เช่น ครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้สิ่งของสำคัญกับคนรอบข้าง
- ทำพินัยกรรมในเวลาที่ยังไม่สมควร


วิธีช่วยเหลือคนอยากฆ่าตัวตาย

หากพบคนที่กำลังทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายต้องรีบให้การช่วยเหลือทันที ดังนี้
1. โทรแจ้ง 191 หรือสายด่วนฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที
2. อยู่กับพวกเขา หรือคุยโทรศัพท์กับพวกเขาจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
3. นำอาวุธหรือวัตถุที่พวกเขาอาจใช้ในการฆ่าตัวตายออกให้ห่าง
4. พยายามสงบสติอารมณ์และบอกให้พวกเขารู้ว่าเราห่วงใย
5. ให้พวกเขาพูด และตั้งใจฟังพร้อมกับถามคำถามโดยไม่ตัดสิน
6. ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าตัวเราเองปลอดภัยด้วยเช่นกัน
 

ภาพ : Vectorium - shutterstock




หากคนใกล้ชิดมีความคิดหรือวางแผนฆ่าตัวตาย เราสามารถให้ความช่วยเหลือโดยอยู่เคียงข้าง ให้กำลังใจ ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. ถามคำถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
หลายคนคิดว่าห้ามถามเรื่องการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยหรือคนที่มีความคิดฆ่าตัวตาย เพราะจะไปกระตุ้นให้พวกเขาลงมือทำ แต่จริงๆ แล้วการถามคำถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นจนไม่ทำร้ายตัวเอง ด้วยชุดคำถามต่อไปนี้
“ความเศร้านั้นมากจนทำให้เบื่อชีวิตไหม?”
“คิดอยากตายไหม?”
“คิดจะทำอย่างไร?”
“เคยทำหรือเปล่า?”
“เคยทำอย่างไร?”
“มีอะไรยับยั้งใจไม่ให้ทำ หรือหยุดความคิดนี้ได้?” คำถามนี้ไม่ว่าเขาจะตอบว่าอย่างไร จะเป็นปัจจัยช่วยให้เขายั้งคิดไม่ทำในครั้งต่อไป

2. โน้มน้าวใจ
เมื่อพูดคุยกับพวกเขาเรื่องฆ่าตัวตายแล้ว ต้องรับฟังพวกเขา ให้พวกเขาพูดระบายออกมา โดยห้ามขัดจังหวะหรือเปลี่ยนประเด็น ที่สำคัญควรเปิดใจรับฟัง ไม่ตัดสิน อย่าโต้แย้ง กล่าวโทษ หรือบอกว่าเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา หลังจากฟังพวกเขาพูดระบายออกมาจนหมดแล้ว ควรพูดโน้มน้าวใจให้เขารับการช่วยเหลือ โดยพูดอย่างใจเย็นและระมัดระวัง เช่น “พวกเราลองขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกันดีไหม”

ข้อควรระวัง ไม่ควรพูดโน้มน้าวว่าวันหน้ายังมีความหวัง หรือตายไปจะมีคนเสียใจเยอะแค่ไหน เพราะเป็นคำพูดที่กระทบต่อจิตใจของผู้ป่วย

3. ขอความช่วยเหลือ
เมื่อรู้ว่าคนใกล้ชิดมีความคิดฆ่าตัวตาย ควรปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น ปรึกษาผู้ใหญ่ จิตแพทย์ โดยขั้นแรกอาจโทรขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323
 
    

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 44 Followers
  • Follow