Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทักษะการกระจายตัวของปัญหา

Posted By PlookExplorer1 | 14 พ.ค. 66
426 Views

  Favorite

การกระจายตัวของปัญหาคืออะไร? ลองทำแบบทดสอบความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค – การกระจายตัวของปัญหา แล้วจะทำให้พอทราบว่า การกระจายตัวของปัญหา คือ ปัญหานั้นๆ ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการดำเนินชีวิตหรือไม่ และตัวเรามีสติพร้อมจะรับรู้และเผชิญหน้ากับปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านั้นหรือไม่ ซึ่งหลายคนเมื่อเจออุปสรรคหรือปัญหามักกลัวการเผชิญหน้า ดังนั้นการพัฒนาทักษะการเผชิญหน้าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรับมือกับปัญหา

วิธีรับมือกับปัญหา
ภาพ : shutterstock.com

ความกลัวต่อการเผชิญหน้าคืออะไร?

ความกลัวการเผชิญหน้า คือ ความกลัวต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยตัวเราเองหรือบุคคลอื่น คนที่กลัวการเผชิญหน้ามักจะหลีกเลี่ยงความรู้สึกหรือสิทธิของตนเอง นอกจากนี้ยังเกลียดอะไรก็ตามที่ก่อดราม่าในสังคม เมื่อต้องเผชิญหน้าจึงมักยกธงขาวยอมแพ้เพียงเพื่อยุติสถานการณ์ความขัดแย้งทั้งๆ ที่ตนเองเป็นฝ่ายถูกก็ตาม 

 

ทำไมจึงกลัวการเผชิญหน้า?

ความการเผชิญหน้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ประสบการณ์เชิงลบในอดีต ความวิตกกังวลทางสังคม ถูกกลั่นแกล้ง ความมั่นใจในตนเองต่ำ และประหม่า

 

เราจะพัฒนาทักษะการเผชิญหน้าได้อย่างไร ?

การเผชิญหน้าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการปูทางไปสู่ความหลากหลายทางความคิด การพัฒนาขอบเขตที่ดี เข้าถึงนวัตกรรมหรือแนวทางใหม่ๆ การตัดสินใจที่ดีขึ้น และความท้าทายต่อสภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งหากเราต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน ดังนั้นนี่คือกลยุทธ์ในการพัฒนาทักษะการเผชิญหน้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. เตรียมใจ

ประเมินความคิดและความรู้สึกของตนเองอย่างรอบคอบ และระบุปัญหาที่แท้จริงที่เราต้องแก้ไข กำจัดปัจจัย อารมณ์ และประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป จากนั้นประเมินวิธีที่ดีที่สุดในการเผชิญหน้า ยิ่งกับการเผชิญหน้ากับบุคคล เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งความชอบ ค่านิยม ความคิด และโลกทัศน์ 

2. วิเคราะห์ความคิดของตนเอง

วิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรมของตนเองเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความขัดแย้ง แล้วลองเขียนรายการเหตุผลที่ทำให้เราเลี่ยงการเผชิญหน้า ซึ่งจะทำให้จิตใจเราสงบและช่วยให้เราประเมินพฤติกรรมของตัวเองอย่างใจเย็น

3. คิดถึงประโยชน์ของการยืนหยัดเพื่อตัวเองอย่างแท้จริง

ลองจินตนาการว่าตัวเรากำลังตั้งรับความขัดแย้งแทนที่จะอยู่เงียบๆ และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะพูด สิ่งที่จะเกิดขึ้น และสิ่งที่เราอาจได้รับกลับมา จะทำให้เราเห็นสิ่งที่จะได้รับจากการจัดการกับความแย้งหรือปัญหาได้อย่างชัดเจน 

4. คิดถึงความกลัว

ความกลัวมักเกิดขึ้นเมื่อเราจินตนาการถึงผลลัพธ์เชิงลบและสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด แต่ถ้าคิดสักนิดจะเห็นว่าความจริงแล้วการเผชิญหน้าเป็นสิ่งที่มนุษย์เราทำอยู่ตลอดเวลาและมันค่อนข้างดีต่อจิตใจ เว้นแต่ว่าเราจะรู้สึกโกรธเกรี้ยวต่อเรื่องนี้ ดังนั้นการหาวิธีเชิงบวกในการจัดการกับปัญหาหรือความขัดแย้งจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น 

5. แก้ไขปัญหาทีละปัญหา

เริ่มต้นจากปัญหาหรือข้อขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ และสร้างความกล้าหาญเพื่อเผชิญหน้ากับสิ่งที่ใหญ่กว่า 

6. พัฒนาทักษะการแก้ไขความขัดแย้ง 

การเรียนรู้วิธีจัดการกับความขัดแย้งด้วยวิธีทางการทูตและความสงบเป็นสิ่งสำคัญที่สุดการเผชิญหน้ากับปัญหา เราจะมีความมั่นใจมากหากเรารู้วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหา เช่น คนขี้โมโห ความคิดที่ยุ่งยาก หรือเมื่อเราตกเป็นเป้าหมาย 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • PlookExplorer1
  • 1 Followers
  • Follow