1. วิเคราะห์ปัญหา
ก่อนที่จะแก้ไขปัญหาและใช้ทักษะในการตัดสินใจได้ ให้พิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน โดยระบุปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากจุดไหน พร้อมทั้งทดลองมองปัญหาในมุมมองของผู้อื่น เพื่อให้มีมุมมองที่แตกต่างออกไป แล้วจึงตรวจสอบว่าปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการทันทีหรือไม่ เร่งด่วนแค่ไหน ใช้เวลาเท่าใดในการแก้ปัญหา
2. รวบรวมข้อมูล
เมื่อระบุปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาได้แล้ว ต่อไปจึงเป็นขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนความคิดดังกล่าว
3. ระดมวิธีแก้ไขปัญหา
การระดมวิธีแก้ไขปัญหาช่วยให้มีความหลากหลายมากขึ้นในการแก้ปัญหา โดยอาจจัดเวิร์กชอปเพื่อให้สมาชิกมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ยิ่งมีไอเดียมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสพบวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลมากขึ้นเท่านั้น
4. ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย
องค์ประกอบหลักประการหนึ่งของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ คือ การชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียก่อนตัดสินใจ โดยอาจสร้าง SWOT เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของการแก้ปัญหานั้น ๆ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพว่าตัวเลือกใดคือตัวเลือกที่เป็นประโยชน์ที่สุดหรือดีที่สุด
5. ตัดสินใจแก้ปัญหา
อย่ารีบร้อนตัดสินใจ ให้ทำการตัดสินใจโดยพิจารณาหลาย ๆ ด้านก่อน เช่น ความเสี่ยง ผลกระทบทางลบ ความน่าจะเป็นที่จะประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นทำการตัดสินใจ ลงมือทำ และติดตามผลการแก้ปัญหานั้น ๆ หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาด ให้พิจารณาวิธีแก้ปัญหาวิธีอื่น ๆ แทน
1. ความคิดสร้างสรรค์
ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความคิดนอกกรอบที่หลากหลาย เพื่อให้ได้แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา
2. ความเป็นทีม
การแก้ปัญหาของกลุ่มหรือสังคมที่เป็นระบบ จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย การทำงานเป็นทีมจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาไปได้อย่างราบรื่น
3. ทักษะการคิดเชิงตรรกะ
เป็นการคิดแบบมีเหตุมีผลรองรับ ใช้เหตุผลเพื่อศึกษาปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นกลาง ซึ่งช่วยให้ได้ข้อสรุปอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับวิธีดำเนินการหรือแก้ปัญหาต่อไป
4. ความฉลาดทางอารมณ์
หากการแก้ปัญหาอาจทำให้ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างบุคคล สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความสามารถในการเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตนเองในทางบวก เพื่อลดทอนความตึงเครียด สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคลี่คลายความขัดแย้งในที่สุด
5. การตัดสินใจ
การแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีการตัดสินใจควบคู่กันไป สิ่งสำคัญจึงเป็นความเชื่อมั่นและไว้วางใจตนเองที่มากพอจะตัดสินใจแก้ปัญหาใด ๆ ได้
1. มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหา
เป็นเรื่องธรรมดาหากความสนใจของเราจะมุ่งตรงไปที่ปัญหา แต่การเปลี่ยนมุมมองโดยออกจากปัญหาและมุ่งเน้นไปยังแนวทางการแก้ปัญหา รวมถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ จะช่วยให้เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นและช่วยเปิดโลกทัศน์สู่แนวทางแก้ไขใหม่ ๆ ได้
2. กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
หลายครั้งที่ปัญหานั้นคลุมเครือและเราไม่ได้ใช้เวลาในการกำหนดปัญหาที่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนเมื่อต้องการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา ดังนั้น ต้องกลับไปวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว
3. ยอมรับในกระบวนการ
สิ่งสำคัญก่อนจะเริ่มกระบวนการแก้ปัญหา คือต้องยอมรับกฎและขั้นตอนพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงกระบวนการและป้องกันความขัดแย้งในอนาคตได้
4. ฟังอย่างกระตือรือร้น
นักแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ฟังที่ดี เพราะการแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีข้อมูลและความคิดเห็นจำนวนมาก เพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
นักบัญชี
นักบัญชีเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินต่าง ๆ เช่น การจัดทำงบประมาณ ภาษี การตรวจสอบบัญชี การจัดการต้นทุน โดยต้องวิเคราะห์ ประเมิน และรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเพื่อปรับปรุงสุขภาพทางการเงินของลูกค้าให้ดีขึ้น จึงต้องมีทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาเพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้ได้มากที่สุด
โปรแกรมเมอร์
การเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องของความคิดเชิงตรรกะ โปรแกรมเมอร์จะวิเคราะห์ปัญหาทางดิจิทัล จากนั้นจะออกแบบและใช้รหัสคอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว พวกเขาต้องสร้าง ทดสอบ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น ทักษะการแก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโปรแกรมเมอร์