• การพูดคุย ตะโกน หรือด่าทอกันเสียงดังจนเป็นมลภาวะทางเสียง
• เปิดทีวีหรือเพลงเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ รบกวนความสงบสุข
• ปาร์ตี้สังสรรค์เสียงดังล่วงเลยเวลาพักผ่อน
• ซ่อมแซมต่อเติมบ้านเสียงดังโครมคราม โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า หรือมีการควบคุมเรื่องเสียง
เมื่อวัดจากค่าเฉลี่ย ระดับเสียงทั้งวันจะต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล ถ้าเพื่อนบ้านส่งเสียงดังเกินกว่า 70 เดซิเบล คุณสามารถร้องเรียนไปยังกรมควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาจัดการต่อไป
หากคุณได้มีการพูดคุยอย่างมีเหตุผลกับเพื่อนบ้านแล้ว แต่เพื่อนบ้านก็ยังเสียงดังเหมือนเดิม หรือแจ้งแล้วและเพื่อนบ้านปฎิเสธว่าตัวเองไม่ได้ทำเสียงดังหรือไม่ให้ความร่วมมือที่จะแก้ปัญหาเสียงดัง คุณสามารถเข้าแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ระงับตักเตือนได้ แต่ถ้าตักเตือนแล้ว ยังทำเสียงดังอยู่ ก็สามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ (พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 มาตรา 25, 26)
โดยศาลสามารถออกคำสั่งให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมเสียงดังได้ และเพื่อนบ้านก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421) ผู้ที่ส่งเสียงดังโดยไม่สมควร และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370)
หากเพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวนไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย เปิดเพลง หรือสังสรรค์เสียงดังโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตราต่าง ๆ ดังนี้
• มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
• มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
• มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
สรุปแล้วการที่เพื่อนบ้านทำเสียงดังจนทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ก็สามารถแจ้งฟ้องได้ และเพื่อนบ้านอาจโดนปรับไม่เกิน 5 พันบาท หากเสียงดังต่อหน้าคนจำนวนมาก ก็อาจโดนโทษสูงสุดจำคุก 1 เดือน และปรับ 1 หมื่นบาท ทั้งนี้หากเจอปัญหาเพื่อนบ้านส่งเสียงดังบ่อย ๆ เคยแจ้งเพื่อนบ้านอย่างมีเหตุผลแล้ว และรู้สึกว่าปัญหาไม่ดีขึ้นก็ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าระงับตักเตือน หรือสามารถดำเนินการฟ้องร้องทางกฎหมายได้
แหล่งข้อมูล
- กระทรวงยุติธรรม
- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370, มาตรา 397, มาตรา 90