เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ แต่มนุษย์กับไม่เห็นความสำคัญของป่าไม้ ยังมีการบุกรุกทำลายป่า แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการปลูกป่าทดแทนมากมาย แต่กว่าจะเติบโตทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไป เรา อาจจะเสียอะไรมากกว่าที่คิด
ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปี จำแนกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 4 ชนิด ได้แก่
ป่าดิบเขตร้อน (Tropical evergreen forest) ประกอบด้วย
ป่าสน (Coniferous forest) พบการกระจายเป็นหย่อม ๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,600 เมตร (ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สูงประมาณ 30 เมตร) ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิเมตร
ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest) ประกอบด้วย
ป่าชายหาด (Beach forest) เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวดทรายและ
โขดหิน สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐ เมตร มีไอเค็มกระจายถึง ปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงกับป่าชายเลน
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิดของป่าไม้ ได้แก่ ลมฟ้าอากาศ ชนิดของดินหิน ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และชีวปัจจัย สามารถแบ่งชนิดป่าไม่ผลัดใบของประเทศไทยเป็น 14 ชนิด ได้แก่
1. ป่าดิบชื้น (Tropical evergreen rain forest หรือ Tropical rain forest)
2. ป่าดิบแล้ง (Seasonal rain forest หรือ Semi-evergreen forest หรือ Dry evergreen forest)
3. ป่าดิบเขาต่ำ (Lower montane rain forest)
4. ป่าไม้ก่อ (Lower montane oak forest)
5. ป่าไม้ก่อ-ไม้สน (Lower montane pine-oak forest)
6. ป่าไม้สนเขา (Lower montane coniferous forest)
7. ป่าละเมาะเขาต่ำ (Lower montane scrub)
8. ป่าดิบเขาสูงหรือป่าเมฆ (Upper montane rain forest หรือ Cloud forest)
9. ป่าละเมาะเขาสูง (Upper montane scrub)
10. แอ่งพรุภูเขา (Montane peat bog หรือ Sphagnum bog)
11. ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (Mangrove forest)
12. ป่าพรุ (Peat swamp forest)
13. ป่าบึงน้ำจืดหรือป่าบุ่ง-ทาม (Freshwater swamp forest)
14. สังคมพืชชายหาด (Strand vegetation) ตามหาดทราย (Sand strand) และโขดหิน (Rock strand)
ป่าผลัดใบ เป็นป่าที่มีองค์ประกอบพืชพรรณเป็นพรรณไม้ผลัดใบ พบทั่วไปในทุกภาคยกเว้นภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จันทบุรี-ตราด) ป่าผลัดใบสามารถจำแนกเป็น 3 ชนิด ตามองค์ประกอบพืชพรรณ ดังนี้
ในขณะที่ การแบ่งชนิดของป่าโดยพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ และชีวปัจจัยตามธวัชชัย (2555) สามารถแบ่งชนิดของป่าผลัดใบ ได้ 3 ชนิด คือ
1. ป่าเบญจพรรณ, ป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest)
2. ป่าเต็งรัง (Deciduous dipterocarp forest)
3. ป่าเต็งรัง-ไม้สน (Pine-deciduous dipterocarp forest)
อยากให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันปลูก ช่วยกันดูแล ช่วยกันรักษา เพื่อให้ป่าไม้เป็นแหล่งอากาศ เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่อยู่ให้สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่สืบไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ