Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้ก่อนทวงหนี้ ทวงหนี้ยังไงให้ไม่ผิดกฎหมาย

Posted By Plook Magazine | 02 พ.ค. 66
2,287 Views

  Favorite

รวมทุกเรื่องที่เจ้าหนี้จำเป็นต้องรู้ก่อนจะไปทวงหนี้ ! เพราะกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ หากเจ้าหนี้ทวงหนี้โดยไม่เป็นไปตามกฎหมายก็อาจจะโดนลูกหนี้ฟ้องได้ เพราะฉะนั้นควรเช็กให้ดีก่อนว่าทวงหนี้ยังไงให้ไม่ผิดกฎหมาย

 

 

‘ลูกหนี้’ และ ‘เจ้าหนี้’ คือใคร

- ลูกหนี้ คือ บุคคลธรรมดา ซึ่งรวมถึงผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดาด้วย

- เจ้าหนี้ คือ เจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องบุคคลธรรมดาเท่านั้น สามารถเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ/ประกัน ซึ่งครอบคลุมถึงเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น หนี้การพนัน รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

 

วิธีการทวงหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ได้ออกกฎหมายไว้ว่าการทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ โดยได้กำหนดวิธีการทวงหนี้ไว้ดังนี้

1. การติดต่อทวงหนี้: โดยบุคคล หรือไปรษณีย์ 

2. สถานที่ติดต่อทวงหนี้: สถานที่ที่ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่ได้แจ้งให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด

3. เวลาที่ติดต่อในการทวงหนี้: สามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 08.00 น.- 20.00 น. และวันหยุดราชการ 08.00 น.-18.00 น. 

4. ความถี่ในการทวงหนี้: สามารถทวงได้ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ถ้า “เพื่อนทวงเพื่อน” ทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน) 

 

ทวงหนี้แบบนี้ผิดกฎหมายแน่นอน !

- ห้ามทวงถามหนี้กับคนอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้

- ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากกฎหมายไม่ให้ประจานลูกหนี้ หรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง โดยบอกคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้น (1) เป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และกรณีที่บุคคลอื่นถามเจ้าหนี้ว่า “มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร” 

- ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใด ๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้ 

- ห้ามติดต่อ แสดงตนทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้

- ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น ถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย 

- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 

- ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศ

 

โทษที่จะโดนหากทวงหนี้แบบไม่เป็นธรรม

ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 

แหล่งข้อมูล

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow