ปัญหาใหญ่ของลูกประถมปลายคือความงงกับเป้าหมายในชีวิต ไม่รู้ว่าตัวเองจะมีเป้าหมายอะไรเพื่ออะไรดี ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานจะยิ่งเรื้อรัง คุณคงต้องช่วยลูกนับจากวันนี้แล้วล่ะ มาเริ่มกันเลย
ถ้าลูกมีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อตัวเอง ลูกก็จะเผื่อแผ่ความมีน้ำใจนั้นให้ผู้อื่นได้ ในรูปแบบของการเห็นอกเห็นใจ การเคารพผู้อื่น การควบคุมตัวเองง และการมีวินัย มีเป้าหมายของตัวเองได้
แม้จะเรียนหนักในห้องเรียน เรียนพิเศษ เรียนเสริม หรือเรียน บลา ๆๆๆๆ แค่ไหนก็แล้วแต่ หากลูกขาดช่วงเวลาแห่งการฝึกฝนทบทวนหนัก ๆ ลูกจะเหมือนไม่ได้เรียนอะไรมาเลย ควรปลูกฝังให้ลูกรู้บทบาทของตัวเองข้อนี้ อย่าเร่งอ่านก่อนสอบ แต่ควรฝึกให้ตัวเองฝึกฝนและทบทวนเก่ง จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่การตั้งเป้าหมาย เพราะลูกรู้ตัวเองว่าตัวเองเป็นใครและรู้ว่าควรทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม
บางประเทศเขาเน้นย้ำให้เด็กของเขาเรียนรู้ผ่านการศึกษาค้นคว้าและอภิปรายผ่านการตั้งทีม โดยการฝึกให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เพราะการวางแผน การแบ่งงานกันทำ การนำเสนอหน้าห้อง เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบในเป้าหมายที่ตั้งไว้
ถ้าลูกของคุณรู้สึกแบบนี้ นั่นหมายถึงว่า เขาอาจไม่เคยได้รับการกระตุ้นให้สนใจสิ่งนอกห้องเรียนที่สร้างสรรค์และสนุกเลย การรู้สึกว่ายิ่งเรียนทำไมยิ่งยาก แปลว่า ลูกไม่ได้รับอิสระทางความคิดที่มากพอ ต้องกระตุ้นด้วยการให้ลูกค้นคว้าในสิ่งที่ตัวเองสนใจโดยไม่จำกัดหัวข้อดูบ้าง และคุณเองอาจจัดกิจกรรมนำเสนอในห้องนอนก่อนนอน เพื่อฝึกให้ลูกต่อยอดทำสิ่งที่ตัวเองชอบหรือรัก ที่ลูกสามารถเลือกได้ด้วยตัวเอง
ปัญหาของผู้ปกครองอันดับต้นเลยคือเรื่องค่าเรียนพิเศษ หลายคนเมื่อลูกใกล้จบประถมปลายแล้วไปลองสอบเข้าแบบพรีเทส พบว่า ลูกทำข้อสอบได้คะแนนไม่ดี จึงหันมาพึ่งพาการเรียนพิเศษ เนื่องจากเนื้อหาที่เป็นข้อสอบเข้าม.1 ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของ ม.ต้น ทำให้ลูกสอบไม่ได้ถ้าไม่เรียนพิเศษเสริม ความจริงแล้วเรื่องการเรียนพิเศษ ไม่ใช่ว่าเรียนแล้วลูกจะสอบเข้าได้หรอก สิ่งสำคัญคือต้องสร้างค่านิยมเรื่องวินัยควบคู่ไปด้วย หากไม่มีวินัยแล้ว การเรียนพิเศษก็ไม่ได้ผล
การทำผลงาน หรือความดีซ้ำ ๆ จะทำให้ลูกได้รับการยกย่องและยอมรับ ลูกจะเกิดความหนักแน่นและมั่นใจที่จะตั้งเป้าหมายของตัวเอง แต่ก็ต้องสอนให้ลูกรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตัวด้วย ไม่แสดงออกแบบอวด หรือข่มผู้อื่น แต่นำเสนอผลงานเพื่อประโยชน์ ความก้าวหน้าจริง ๆ เมื่อลูกได้รับการยอมรับ ลูกจะเกิดความมั่นใจในตัวเอง เพราะคุณต้องห้ามลืมว่า คนที่มีเป้าหมายรู้ตัวเอง คือคนที่มีความมั่นใจในตัวเองเท่านั้น
การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะ เป็นการสอนที่พัฒนามาจากการเรียนรู้บนพื้นฐานของปัญหา มีขั้นตอนของการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. รู้จักตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้
2. มีความคิดเป็นของตนเอง
3. อภิปรายกันเป็นคู่ เป็นกลุ่ม เป็นชั้นเรียน
4. ทบทวนเนื้อหาและการเรียนรู้ โดยวิธีการดังกล่าวมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งผ่านการคิดด้วยตนเองและการสนทนาโต้ตอบ ภายใต้แนวคิดการสอนเด็กได้อ่าน คิด และเขียนด้วยตนเอง รู้จักมีจิตสำนึกรับผิดชอบ และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน เทคนิคนี้คุณลองนำไปปรับใช้ในการกระตุ้นให้ลูกรู้จักเป้าหมายและตัวเองดู อาจใช้ได้ผลไม่น้อยเลย
หากคุณมีเวลาลองจัดคาบเรียนกับลูกด้วยการฝึกอบรมลูกหลังเลิกเรียนดู อาจใช้เวลาไม่นาน แต่วิธีการเหมือนเป็นการดีไซน์คลาสเล็ก ๆ กับลูก อะไรก็ได้ เช่น ฝึกให้ลูกเขียนนิทานเรื่องของตัวเอง หรือให้ลูกออกแบบสติ๊กเกอร์ของตัวเองด้วยการวาดรูประบายสี กิจกรรมร้องคาราโอเกะร่วมกัน การทำความสะอาดร่วมกัน เป็นต้น กิจกรรมอะไรแบบนี้ต้องปิดท้ายด้วยการให้ข้อคิดกับลูก หรือตั้งคำถามกับลูกว่า ก่อนทำและหลังทำกิจกรรมรู้สึกอย่างไร เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบและตั้งเป้าหมาย จากเป้าหมายเล็ก ๆ สู่เป้าหมายที่ใหญ่ ๆ ได้
เป็นกำลังใจให้ผู้ปกครอง คุณอาจเป็นผู้นำที่สร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษาให้กับลูกของคุณก็ได้
ปริณุต ไชยนิชย์
ขอบคุณข้อมูลจาก https://wealthmeup.com/20-04-15-japan/