1. นกเงือกคอแดง ชื่อภาษาอังกฤษ: Rufous-necked Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aceros nipalensis
ถิ่นอาศัย: เขตผืนป่าตะวันตก เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง, อุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวร, ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
2. นกเงือกปากดำ หรือ กาเขา ชื่อภาษาอังกฤษ: Bushy-crested Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anorrhinusgaleritus
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบชื้นทางภาคใต้
3. นกเงือกสีน้ำตาล ชื่อภาษาอังกฤษ: Brown Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptilolaemus tickelli
ถิ่นอาศัย: ภาคเหนือตอนล่าง พบได้ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และผืนป่าด้านตะวันตกเขตจังหวัดตาก (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเขตุรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก
4. นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ชื่อภาษาอังกฤษ: White-throated Brown Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptilolaemus austeni
ถิ่นอาศัย: ภาคเหนือของไทย อาศัยอยู่ในป่าลึกที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร
5. นกเงือกดำ ชื่อภาษาอังกฤษ: Black Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros malayanus
ถิ่นอาศัย: ป่าที่ราบต่ำ และป่าพรุทางภาคใต้
6. นกเงือกหัวหงอก ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus
ถิ่นอาศัย: ภาคใต้และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 600 เมตรหรือมากกว่า
7. นกแก๊ก ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental Pied Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris
ถิ่นอาศัย: ภาคใต้พบในพื้นที่ต่ำใกล้น้ำ และเกาะกลางทะเล ป่าดงดิบ และป่าผลัดใบ
8. นกเงือกกรามช้างปากเรียบ ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain-pouched Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros subruficollis
ถิ่นอาศัย: พบมากในป่าบาลา-ฮาลา จังหวัดยะลา ป่าดงดิบ และป่าผลัดใบ
9. นกเงือกกรามช้าง ชื่ออังกฤษ: Wreathed Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบและป่าชายเลน ตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 1,800 เมตร
10. นกเงือกปากย่น ชื่อภาษาอังกฤษ: Wrinkled Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros corrugatus
ถิ่นอาศัย: ป่าที่ราบต่ำทางภาคใต้ อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลาฮาลา
11. นกกก ชื่อภาษาอังกฤษ: Great Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis
ถิ่นอาศัย: มีเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน แลละเคยพบมากที่เกาะตะรุเตา
12. นกเงือกหัวแรด ชื่อภาษาอังกฤษ: Rhinoceros Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบชื้นภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป
13. นกชนหิน ชื่อภาษาอังกฤษ: Helmeted Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil
ถิ่นอาศัย: พบในป่าดิบชื้นระดับต่ำ แถบเทือกเขาตะนาวศรีลงมาทางใต้
นกเงือกเป็นนกที่กินผลไม้เป็นหลัก โดยเฉพาะผลไม้สุก เช่น ไทร มะเมื่อย ตาเสือ และยางโอน เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้หลากหลาย จึงทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จนได้รับฉายาว่า ‘นักปลูกป่า’
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการลักลอบล่านกเงือกอยู่บ่อยครั้ง ทำให้นกเงือกหายไปจากป่า ยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หากพ่อนกเงือกถูกฆ่าตาย แม่และลูกนกเงือกก็จะไม่มีชีวิตอยู่รอดได้เช่นกัน ทำให้ในปัจจุบันประชากรของนกเงือกลดลงเป็นอย่างมาก หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ และดูแลพื้นที่ป่าให้สมบูรณ์ สุดท้าย สัญลักษณ์แห่ง ‘รักแท้’ ก็คงหายไปโดยน้ำมือ มนุษย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร