สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์แสนสนุกต่าง ๆ นอกจากเด็ก ๆ จะได้เห็นสิ่งน่าตื่นตาตื่นใจจากปฏิกิริยาเคมี หรือการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้นแล้ว เขายังเรียนรู้ขั้นตอนการทำ ฝึกกระบวนการคิด การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดเชิงเหตุและผลเพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และสิ่งประดิษฐ์ที่เรานำมาแนะนำในบทความนี้คือสิ่งประดิษฐ์ที่ทำง่าย ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไป และเด็ก ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ใช้อุปกรณ์ไม่เยอะ อีกทั้งเด็ก ๆ ยังสามารถร่วมสร้างและทดลองด้วยได้ อุปกรณ์ที่ใช้มีขวดเปล่าที่นำมาตกแต่งเป็นรูปทรงจรวดตามชอบ ฐานวางจรวด น้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ แต่ข้อควรระวังคือหลังจากใส่วัตถุดิบทั้งหมดลงในขวดแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นคนปล่อยจรวดด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
เราสามารถจำลองแขนกลมาให้เด็ก ๆ เล่นได้โดยไม่ต้องใช้โลหะของจริงด้วยการนำกระดาษลังไม่ใช้แล้วมาตัดเป็นรูปทรงมือตามที่ต้องการ จากนั้นยึดข้อต่อต่าง ๆ ด้วยหลอดและเชือก นอกจากเด็ก ๆ จะได้สนุกสนานกับแขนกลอันใหม่แล้ว เขายังได้เรียนรู้หลักอนาโตมี่ของร่างกายเราอีกด้วย
การเล่นลูกโป่งจากที่ทำลูกโป่งอันเล็กอาจยังไม่เพียงพอ คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนลูกมาประดิษฐ์เครื่องเป่าฟองสบู่ของตัวเองได้ง่าย ๆ โดยใช้เพียงขวดพลาสติกแบบลิตรแบบตัดครึ่ง น้ำสบู่ และตาข่ายใส่ผลไม้ วิธีทำก็เพียงนำตาข่ายมาติดไว้กับขวดในด้านที่ตัดไป จากนั้นเอาตาข่ายจุ่มน้ำสบู่ เท่านี้เด็ก ๆ ก็สามารถเป่าฟองสบู่ได้เยอะตามต้องการแล้ว
นอกจากเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้หลักแรงโน้มถ่วงและการเคลื่อนที่ของน้ำแล้ว ยังได้เรียนรู้การคำนวณ และนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็ก ๆ ดีไซน์ได้เลยว่าเขาจะใช้ขวดอะไร เท่าไหร่ องศาไหน เพื่อให้น้ำไหลจากด้านบนลงสู่ถังด้านล่างได้แบบไม่ติดขัดและรั่วซึม
เรามาทำเรือจากหนังยางให้ลูกเล่นกันดีกว่า วิธีทำก็เพียงแค่หาขวดอะไรก็ได้ที่ไม่ใช้แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นเรือที่ลอยน้ำได้ จากนั้นนำไม้มาติดไว้ด้านข้างเรือ ใช้ไม้ไอศกรีมมาเป็นหางเสือ ติดกับหนังยางสองข้างไว้ จากนั้นนำหนังยางมาคล้องไว้ที่ไม้ด้านหลังเรือ หมุนไม้ไอศกรีมจนหนังยางตึง แล้วปล่อยลงน้ำ เท่านี้เรือก็จะแล่นฉิวไปได้เองแล้ว
การเล่นสไลม์ใช่ว่าจะต้องซื้อมาเพียงอย่างเดียว เราสามารถสร้างสไลม์ขึ้นมาเองได้จากวัตถุดิบภายในบ้านที่หาซื้อง่าย คือ กาวลาเท็กซ์ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ เบกกิ้งโซดา และสีผสมอาหาร (อันที่จริงสูตรสไลม์มีให้เลือกหลายสูตร แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เลือกสูตรที่ปลอดภัยจะดีที่สุด) เท่านี้เด็ก ๆ ก็จะมีสไลม์ไว้ให้เล่นแบบไม่จำกัด อีกทั้งเขายังเรียนรู้เรื่องปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดสไลม์ได้ในเวลาเดียวกัน
Sensory Bottle คือขวดที่มีวัตถุลอยไปลอยมาอยู่ภายใน ช่วยให้เด็กฝึกสมาธิ การอดทน และช่วยให้จิตใจของเขาสงบลงได้ ซึ่งวิธีการทำก็ง่ายแสนง่ายเพียงคุณพ่อคุณแม่หา water beads สีรุ้งมาเทใส่ชามแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาเรียงสีใส่ขวดตามชอบ ใส่เบบี้ออยล์ลงไป เท่านี้เด็ก ๆ ก็จะได้ Sensory Bottle แสนสวยไว้เล่นแล้ว
ของเล่นเบสิกที่เราคุ้นเคยกันดี เด็ก ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องกังวลอันตรายอะไร อุปกรณ์ใช้เพียงกระดาษลายที่ชอบ ตัดจากมุมเข้ามาหากึ่งกลางแผ่น จากนั้นนำแต่ละมุมมาติดกาวไว้ตรงกลาง ใช้เข็มหมุดยึดกระดาษไว้กับหลอด (อย่าให้แน่นเกินไป) เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ แนะนำว่าขั้นตอนการใช้เข็มหมุด คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นคนทำให้ เพราะหากให้เด็ก ๆ ทำเองเข็มอาจโดนมือเขาได้
สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ช่วยสอนเรื่องอนาโตมี่เกี่ยวกับการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้รูปทรงของปอดตั้งแต่เริ่มประดิษฐ์ไปจนกระทั่งการทำงานของปอดเมื่อมีลมอยู่ด้านใน อุปกรณ์ก็ใช้ไม่เยอะและหาได้ทั่วไป นั่นคือ กระดาษสี กระดาษลัง หลอด และถุงพลาสติก
ของชิ้นนี้ประดิษฐ์ง่าย ลูกวัยประถมก็สามารถทำได้เองแบบที่มีผู้ใหญ่คอยดูแลอยู่ข้าง ๆ อุปกรณ์มีเพียงขวดแก้ว น้ำส้มสายชู น้ำมันพืช เบกกิ้งโซดา และสีผสมอาหาร วิธีทำคือใส่เบกกิ้งโซดาลงในขวดแก้ว ตามด้วยน้ำมันพืช จากนั้นผสมสีผสมอาหารกับน้ำส้มสายชู เทลงไปในขวดแก้ว เฝ้าดูปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นก็เป็นอันเสร็จ