เมื่อลูกในวัยประถมศึกษาของเราเรียนจบชั้น ป.6 และเตรียมตัวขึ้น ม.1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ลูกต้องย้ายโรงเรียน (ยกเว้นเด็กที่เลือกเรียนในโรงเรียนที่มีทั้งประถมและมัธยม) รอยต่อช่วงนี้อาจเป็นปัญหาใหญ่ของเด็ก และเป็นปัญหาใหญ่ของคุณด้วย วันนี้เราจึงมีเทคนิคที่คุณสามารถนำไปใช้เมื่อเจอปัญหานี้ได้
วัยประถมปลาย เริ่มเป็นวัยที่รู้จักคำว่าเพื่อนสนิท เพื่อนซี้ หรือการติดเพื่อนบ้างแล้ว การย้ายโรงเรียนคงเป็นเรื่องเศร้าพอควรสำหรับเด็ก ๆ ดังนั้นลองใช้วิธีนี้ช่วยดู อาจทำให้ลูก ๆ ของคุณลดความเศร้าจากการแยกย้ายได้ เช่น ให้ลูกเรียนเสริมวันหยุด เรียนอะไรก็ได้ แต่ให้ชวนแก๊งค์เดิมจากโรงเรียนเก่ามาเรียนด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามเปิดโอกาสให้ลูกมีกิจกรรมกับเพื่อนใหม่นอกห้องเรียนด้วย ไม่เช่นนั้น เขาก็จะยึดติดกับเพื่อนเก่า ไม่ยอมเปิดใจให้เพื่อนใหม่สักที
คุณควรพาลูกกลับไปโรงเรียนเก่าบ่อย ๆ ตามที่เขาต้องการ อย่าห้ามกันเลย เด็กบางคนเรียนที่เดิมมาตั้งแต่อนุบาล ไม่เคยเปลี่ยนเซ็ตเพื่อนเลย หน้าเดิมตลอด แล้วจู่ ๆ จะให้รีบเปลี่ยนก็คงไม่ค่อยมีเหตุผลที่มีกำลังใจที่ดีสักเท่าไหร่
อย่าคิดว่าการปล่อย คือสิ่งไม่ดี จริง ๆ แล้ว การปล่อยจะทำให้ลูกได้เวลาใช้ความคิดเพิ่มมากขึ้น ลูกอาจมีอาการไม่เชื่อฟัง ไม่สนใจเรียน ไม่นั่งอยู่กับที่ บางวิชาที่ไม่ชอบเรียน ก็ไม่เรียน กลับมาบ้านก็อาจเดินไปมาทั่วบ้าน ไม่อยู่นิ่งกับที่ เวลาอาหาร เดินไปมาจากโต๊ะอาหาร บอกให้นั่งก็ไม่นั่ง เดินออกจากโต๊ะอาหารตลอด ทั้งหมดนี้แทนคำว่า เบื่อ ของเขาล่ะ ดังนั้น การปล่อย แล้วให้ลูกได้ลองทำ หรือแสดงออกความสับสน เสียใจ ออกมาจนสุดขั้วของอารมณ์ อาจทำให้ลูกปรับตัวเองได้ไวขึ้น
คอยถามลูกเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่เจอในโรงเรียนใหม่ และหากเป็นไปได้ ลองให้ลูกเข้าชมรมหรือเล่นดนตรี กีฬา ศิลปะ เพราะกิจกรรมเสริมทักษะเหล่านี้จะเป็นตัวเยียวยาจิตใจของเด็กที่มีอาการคล้ายโฮมซิกได้ดี เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ลูกผ่อนคลายและพัฒนาตนเองด้วยตัวเอง การจดจ่อกับสิ่งใหม่ก็คือการจดจ่อกับการค้นพบศักยภาพใหม่ ๆ ของตัวเองนั่นเอง
ไม่ทำให้เขารู้สึกว่า การมาเรียนโรงเรียนใหม่ เหนื่อย ยาก และน่าเบื่อกว่าเดิม แต่ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายและสนุก เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาไทยค่อนข้างเคร่งเครียด ไม่เหมือนกับที่ประเทศนอร์เวย์ ที่นั่นนักเรียนระดับชั้นป. 1 - 6 ไม่มีการบังคับเรื่องการแต่งกาย และที่สำคัญจะไม่มีการวัดผลการเรียนเลย คือการที่ลูกเรียนไม่สนุก สาเหตุหลักเลยมาจากการถูกบังคับ การอยู่ในกรอบ การถูกเปรียบเทียบและเห็นว่าตัวเองด้อยกว่าเพื่อนในชั้นเรียน หรือเด็กในวัยเดียวกัน ถ้าคุณกำลังทำอย่างนั้น ให้หันมาทำให้ลูกเรียนสนุกดีกว่า
จะเป็นการสนับสนุนให้เขามีระเบียบวินัย มีทักษะในการทำงานสูง การมอบภารกิจให้ลูกทำงานร่วมกับคุณทุกวัน เป็นงานที่ไม่ใช่งานบ้าน แต่เป็นงานที่สำคัญ ขาดลูกไปคุณจะทำไม่ได้ คุณต้องทำให้เขารู้สึกแบบนี้ การมอบหน้าที่ให้ลูกได้ทำงานร่วมกับคุณจึงจะได้ผล
ปริณุต ไชยนิชย์
อาจารย์ประจำสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RMUTSB : RUS)
ข้อมูลอ้างอิงจาก ลูกย้ายโรงเรียน (ป.4) และคิดถึงแต่เพื่อนเก่า เราแก้ปัญหาแบบนี้ถูกไหม https://pantip.com/topic/41474920 https://th-th.facebook.com/prasertpp/posts/339518803063287/