ประโยคบอกเล่า : She is a teacher.
ประโยคคำถาม : Is she a teacher?
การทำประโยค Inversion ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เพียงสลับนำกริยามาไว้ข้างหน้าประธาน แต่หากในประโยคมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว เนื่องจากบาง Tense มีกริยาช่วยในประโยค ก็จะย้ายกริยาตัวแรก (กริยาช่วย) มาไว้หน้าประธาน เช่น
Present continuous:
ประโยคบอกเล่า : It is raining at the moment.
ประโยคคำถาม : Is it raining at the moment?
Future simple:
ประโยคบอกเล่า : Jane will come to the party.
ประโยคคำถาม : Will Jane come to the party?
และ Present Simple Tense กับ Past Simple Tense บางกรณีต้องเติม do, does, did’ เพื่อทำเป็นประโยคคำถาม ดังนั้นต้องเปลี่ยนกริยาหลักกลับไปเป็น infinitive นี่ก็เรียกว่า Inversion เช่นกัน
นอกจากใช้ Inversion ในประโยคคำถามดังที่กล่าวข้างต้น ยังใช้ Inversion ในกรณีอื่นๆ ดังนี้
1. ใช้ Inversion ในประโยคเน้นกริยาวิเศษณ์เชิงลบ (Negative Adverb) โดยให้กริยาวิเศษณ์ขึ้นต้นประโยค เพื่อเน้นสิ่งที่กำลังพูด และมีความเป็นทางการมากขึ้น
Normal sentence : I have never been to such a beautiful place.
Inversion : Never have I been to such a beautiful place.
(ฉันไม่เคยไปสถานที่สวยงามอย่างนี้มาก่อน)
Negative Adverb (กริยาวิเศษณ์เชิงลบ) ที่ใช้ใน Inversion บ่อยๆ
Hardly Scarcely
Never Only later
Seldom Nowhere
Rarely Little
Only then Only in this way
Not only ... but In no way
No sooner On ono account
2. ใช้ Inversion แทน 'if' ในประโยคเงื่อนไข conditionals (if-clause) โดยการใช้ had, were, should ไว้ข้างหน้าประธาน จะทำให้ประโยคค่อนข้างมีความเป็นทางการ
Normal conditional : If you should have any questions, please do not hesitate to contact us.
Conditional with inversion : Should you have any questions, please do not hesitate to contact us.
(หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา)
3. ใช้ Inversion ในประโยคที่นำคำบุพบทหรือกริยาวิเศษณ์บอกตำแหน่งมาขึ้นต้นประโยค จะทำให้ประโยคค่อนข้างเป็นทางการ และมักใช้ในงานวรรณกรรม
Normal sentence : The old church is on the right.
Inversion : On the right is the old church.
(โบสถ์เก่าอยู่ทางขวามือ / ทางขวามือคือโบสถ์เก่า)
4. ใช้ในประโยคแสดงความเห็นด้วยหรือคล้อยตาม โดยใช้ so, neither, nor ขึ้นต้นประโยค (so ใช้ในการคล้อยตาม ส่วน neither และ nor ใช้ในเชิงปฏิเสธ)
A: They are very angry. (พวกเขาโกรธมาก)
B: So am I. (ฉันก็เช่นกัน)
A: I can’t speak French. (ฉันพูดฝรั่งเศสไม่ได้)
B: Neither can I. (ฉันก็ไม่ได้เช่นกัน)
ex. She didn’t see anyone, nor did she hear it.
(หล่อนไม่เห็นใครเลย และไม่ได้ยินเลยเช่นกัน)
5. ใช้ Inversion หลัง so ...(adj)... that
Normal sentence : She is so beautiful that everyone wants to have a date with her.
Inversion : So beautiful is she that everyone wants to have a date with her.
(เธอสวยมากซะจนที่ใครต่อใครก็อยากเดตกับเธอ)