ทั้ง 2 วลีนี้มีความเป็นทางการกว่า Me too. ส่วนใหญ่ใช้ในการสนทนากับคนที่อายุมากกว่าหรือในระดับสูงกว่า และทางในทางธุรกิจ แต่ก็ใช้ในการพูดคุยในชีวิตประจำกับเพื่อนๆ ได้เช่นกัน
example:
A: I have two meetings today. (วันนี้ฉันมี 2 ประชุม)
B: So do I. (ฉันก็เหมือนกัน)
ความแตกต่างของ So do I. กับ So am I.
ถ้ากริยาในประโยคที่เราเห็นพ้องด้วยเป็นกริยาทั่วไปจะใช้ So do I. เช่น
A: I like chocolate. (ฉันชอบช็อกโกแลต)
B: So do I. (ฉันก็เหมือนกัน)
ถ้ากริยาในประโยคที่เราเห็นพ้องด้วยเป็น Verb to be (is/am/are) จะใช้ So am I. เช่น
A: I'm really tired. (ฉันเหนื่อยมากๆ)
B: So am I. Let's take a break. (ฉันก็เหมือนกัน เราไปพักกันเถอะ)
นอกจากนี้ยังสามารถใช้โครงสร้าง So + Verb / Auxiliary Verb + Subject สื่อถึงการเห็นด้วยอีกฝ่ายได้เช่น
So did I. ใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องในอดีต (สังเกตกริยาในประโยคที่เราเห็นด้วยเป็นรูปอดีต) เช่น
A: I got a new car. (ฉันซื้อรถใหม่)
B: So did I. (ฉันก็เหมือนกัน)
หากในประโยคที่เราเห็นด้วยใช้กริยาช่วย (Auxiliary Verb) เช่น have, can, will, ให้ใช้โครงสร้าง So + Auxiliary Verb + Subject เช่น
A: I have been to Italy. (ฉันเคยไปอิตาลี)
B: So have I. (ฉันก็เหมือนกัน)
เมื่อเป็นการด้วยในเชิงปฏิเสธ จะเปลี่ยนจาก So เป็น Neither และกริยาที่ตามหลังนั้นจะเป็นอะไรให้สังเกตกริยาที่ประโยคที่เราเห็นพ้องด้วย เช่น
A: I don’t like kimchi. (ฉันไม่ชอบกิมจิ)
B: Neither do I. (ฉันก็เหมือนกัน)
A: I’m not hungry. (ฉันไม่หิว)
B: Neither am I. (ฉันก็เหมือนกัน)
A: I wasn’t a doctor. (ฉันไม่ใช่หมอ)
B: Neither was I. (ฉันก็เหมือนกัน)
A: I didn’t meet him yesterday. (เมื่อวานฉันไม่ได้เจอเขา)
B: Neither did I. (ฉันก็เหมือนกัน)
A: I can’t speak Korean. (ฉันพูดเกาหลีไม่ได้)
B: Neither can I. (ฉันก็เหมือนกัน)
อย่างไรก็ตาม ในการตอบเห็นด้วยประโยคเชิงปฏิเสธสามารถใช้ง่ายๆ ได้ว่า Me neither. แทน Neither do I. ได้ เช่น
A: I don’t like this movie. (ฉันไม่ชอบหนังเรื่องนี้)
B: Me neither. (ฉันด้วย [ฉันก็ไม่ชอบหนังเรื่องนี้เหมือนกัน])
A: I’ve never been to Sweden. (ฉันไม่เคยไปสวีเดน)
B: Me neither. (ฉันด้วย [ฉันก็ไม่เคยไปเหมือนกัน]