เดินหน้ารวมพลังแข็งแกร่งเพื่อการศึกษาไทย...ภาครัฐ ประชาสังคม และ 47 องค์กรเอกชน
ร่วมจัดการประชุมมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี
“แนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วนในการสนับสนุนการศึกษาไทย ประจำปี 2565”
มุ่งผลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศ พร้อมต่อยอดสู่โรงเรียนสพฐ. 30,000 แห่ง
กรุงเทพฯ 25 พฤศจิกายน 2565 – ก้าวสู่ปีที่ 6 ของการรวมพลัง สานต่อความมุ่งมั่นขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ก้าวไกลอย่างมั่นคงและยั่งยืน...มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (กลาง – แถวบน) ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดการประชุม CONNEXT ED Conference 2022 “แนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วนในการสนับสนุนการศึกษาไทย ประจำปี 2565” ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง (ที่ 3 จากซ้าย – แถวบน) ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ (ที่ 4 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากบน) ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยซีอีโอ คณะผู้บริหารจากองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หารือและวางแผนการดำเนินงาน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน แนวทางเสริมสร้างทักษะซอฟท์สกิลนักเรียน เดินหน้าสร้างเด็กดีมีความสามารถ โดยปีนี้ มูลนิธิฯ ได้เพิ่มเครือข่ายพันธมิตรอีก 3 องค์กรอย่างเป็นทางการ ขยายจาก 12 องค์กรชั้นนำผู้ร่วมก่อตั้ง 19 องค์กรรุ่นที่ 2 และ 13 องค์กรรุ่นที่ 3 เดิม รวมปัจจุบันเป็น 47 องค์กร
สำหรับแผนงานในระยะต่อไปของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ยังคงมุ่งเน้นความร่วมมืออันเข้มแข็งจากทุกภาคส่วน โดยสำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ จะนำแบบอย่างการดำเนินงานและผลสำเร็จของมูลนิธิฯ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ไปประยุกต์ใช้ต่อยอด พร้อมผลักดันเป็นนโยบายสู่ระดับประเทศ ได้แก่ 1. นำระบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการโรงเรียน (School Management System) ไปใช้จัดเก็บข้อมูลและประเมินคุณภาพโรงเรียน จากเดิม 5,570 แห่ง ขยายผลสู่ 30,000 แห่งทั่วประเทศ 2. เสริมกำลังผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ภาครัฐ เพื่อปฏิบัติภารกิจส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของครูและนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุม 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ 3. ทำแผนงบประมาณจัดตั้ง 6 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) โดยวางแผนนำร่องใน 6 ภูมิภาคๆ ละ 1 แห่ง เพิ่มเติมจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของเอกชนที่ปัจจุบันมีอยู่ 19 แห่งทั่วประเทศ 4. ถอดบทเรียนเชิงลึก พร้อมนำ 17 โมเดลองค์ความรู้จากองค์กรภาคเอกชนไปขยายผล เพื่อพัฒนาโรงเรียนในการดูแลทั่วประเทศ และ 5. สนับสนุนงบประมาณจากสพฐ. จำนวน 2.5 ล้านบาท จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร “PCARE” (Phenomenon – Content – Application – Reflection – Execution) ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับชีวิตจริงโดยใช้โน้ตบุ๊กเป็นฐาน แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” วางแผนนำร่อง 45 โรงเรียน โดยจะมีการติดตามผล ถอดบทเรียน และทำรายงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ทำให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้เด็กไทย สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติมาตรการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการศึกษา สำหรับนักเรียน ป.1 - ม.6 จำนวน 1.6 ล้านคน
สำหรับความร่วมมือจนถึงปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ได้มีส่วนร่วมในการยกระดับการจัดการการศึกษาในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จากโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 5,570 แห่ง มีนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาสะสมแล้วกว่า 2.31 ล้านคน โดยผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในระยะที่ผ่านมา มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
ทั้งนี้ องค์กรที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-858-1881-2 หรืออีเมล : Partners.connexted@gmail.com
#มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี #CONNEXTEDfoundation
เว็บไซต์: http://connexted.org
FB: CONNEXT ED