Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เปิดลิสต์ 5 อาชีพการเงินรายได้ดี ยุคไหนก็ไม่เอ้าท์ !

Posted By Plook Magazine | 14 พ.ย. 65
15,742 Views

  Favorite

อาชีพสายการเงินเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะการเงินเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เงิน ดังนั้นสายอาชีพนี้จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ เพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง และเป็นที่ต้องการอย่างมาก อาชีพด้านการเงินมีหลากหลายมาก บทความนี้จะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับอาชีพสายนี้กันให้มากขึ้น มาดูกันว่าจะมีอาชีพอะไรที่น่าสนใจบ้าง

 

cr.freepik

 

1. นักวางแผนการเงิน (Financial Planner)

ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแบบครอบคลุมองค์รวม โดยวางแผนให้ว่าต้องทำสิ่งใด อย่างไร ใช้เครื่องมือทางการเงินใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินตามที่ต้องการ โดยวิเคราะห์ภาพรวมสถานะทางการเงิน และให้คำแนะนำกลยุทธ์กางวางแผนการเงินแบบองค์รวมที่เหมาะสม เช่น การจัดทำงบประมาณ รายรับ-รายจ่าย การออมเงิน ภาษี การลงทุน ประกันชีวิต การเกษียณอายุ และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ในแต่ละช่วงอายุ

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม

- มีความซื่อสัตย์และความยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม
- มีความตรงไปตรงมาและความโปร่งใส
- มีความเข้าใจในความจำเป็นและเป้าหมายของผู้รับคำปรึกษา
- มีความเอาใจใส่
- รู้จักการคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ

 

ทักษะที่ควรมี

- ทักษะการวางแผนทางการเงิน
- ทักษะการวางแผนทางการลงทุน
- ทักษะการวางแผนด้านอสังหาริมทรัพย์ และภาษี
- ทักษะการพัฒนาและวิเคราะห์ทางการเงิน
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการนำเสนอ

 

 

2. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Equity Analyst)

ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในตัวของหลักทรัพย์ให้กับนักลงทุนผ่านการเขียนบทวิเคราะห์ รวมไปถึงลักษณะของธุรกิจ, แนวโน้มการเติบโต, การวิเคราะห์งบการเงิน และมูลค่าความเหมาะสมของหลักทรัพย์ เพื่อสรุปเป็นคำแนะนำในการลงทุนให้กับนักลงทุนที่จะนำไปเป็นปัจจัยการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รวบรวม ตกผลึกข้อมูล และช่วยสื่อสารลักษณะของบริษัทที่มีความซับซ้อนให้นักลงทุนเข้าใจ

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม

- ชอบการลงทุน
- มีความสามารถในการหาความรู้และศึกษาสิ่งต่าง ๆ
- มีความรู้ทางด้านธุรกิจ
- มีความรู้ด้านการวิเคราะห์งบการเงิน
- มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์

 

ทักษะที่ควรมี

- ทักษะคณิตศาสตร์
- ทักษะการจัดการ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการสื่อสาร

 

cr.freepik

 

3. ผู้จัดการกองทุน (Mutual Fund Manager)

มีหน้าที่ดูแลกองทุนที่ลูกค้านำมาฝากไว้เพื่อการลงทุน กองทุนในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนหุ้น แต่อาจจะเป็นกองทุนพันธบัตรหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ได้

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม

- มีความสามารถในการวิเคราะห์
- มีระบบระเบียบ
- มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์
- มีสามัญสำนึก
- มีความเชื่อมั่น

 

ทักษะที่ควรมี

- ทักษะการตัดสินใจ
- ทักษะการพูด
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- ทักษะการกำกับดูแลงาน
- ทักษะการเรียนรู้เชิงประยุกต์

 

 

4. นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst)

ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อประกอบแผนการลงทุน และการตัดสินใจลงทุนของรัฐหรือเอกชน ให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจการลงทุน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อคาดการณ์ธุรกิจอุตสาหกรรมหรือภาวะเศรษฐกิจ จัดทำแผนการดำเนินการในการลงทุน โดยใช้การวิเคราะห์ทางการเงิน ประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพของหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่กำหนด นำเสนอหรือเขียนรายงานแนวโน้มทางเศรษฐกิจทั่วไป รวมไปถึงการแนะนำเวลาการลงทุนให้กับบริษัท เจ้าหน้าที่การลงทุน หรือประชาชนทั่วไป

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม

- มีความรู้ด้านการวิเคราะห์
- มีความสามารถในการจัดทำงบประมาณได้
- สามาถการวิเคราะห์การเงินได้
- สามารถจัดทำแบบจำลองทางการเงินได้
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี

 

ทักษะที่ควรมี

- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการนำเสนองาน
- ทักษะด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน
- ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

 

cr.freepik

 

5. นักวิเคราะห์สินเชื่อ (Credit Analyst)

ทำหน้าที่ประเมินและตัดสินใจการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยอยู่ภายใต้เกณฑ์ และเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด โดยต้องทำตั้งแต่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้า และศึกษาข้อมูลทางการเงิน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ประเมิน และวิเคราะห์ความเสี่ยงของลูกค้าที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และพัฒนาแบบจำลองทางสถิติ  รักษาความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในวงเงินที่กำหนด

 

คุณสมบัติที่เหมาะสม

- มีความรู้เรื่องการบัญชี งบการเงิน
- ช่างสังเกต
- มีความละเอียดรอบคอบ

 

ทักษะที่ควรมี

- ทักษะคณิตศาสตร์
- ทักษะการจัดการ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการสื่อสาร

 

งานการเงินมีสายงานที่หลากหลายของตำแหน่งงาน สามารถทำได้หลายหน่วยงาน ทั้งทางภาครัฐและเอกชน น้อง ๆ จึงต้องเลือกและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ว่างานการเงินสายไหนที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุด ผู้ที่ทำงานด้านการเงินจะต้องเป็นบุคคลที่มีทั้งความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสายงานขอตัวเองควบคู่กันไป เพราะงานด้านนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบและมีความละเอียดสูงมาก

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- รู้จักอาชีพ | True ปลูกปัญญา
- สำรวจอาชีพ | We Space
- สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
- 4 หลักการทำงาน นักวางแผนการเงินรุ่นใหม่ เจาะตลาดลูกค้ารายใหญ่อย่างมืออาชีพ
- เรียนการเงิน (Finance) มาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? มาดู 9 อาชีพนี้!
- CareerTalk - คุณสมบัติ 12 ประการของผู้จัดการกองทุนที่ดี
- เส้นทางอาชีพ สายการเงินของบริษัท (Corporate Finance)

 
 
 
 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow