1. เข้าใจระหว่างความจำเป็นกับความต้องการ
ในช่วงวัยรุ่น หลายคนมักอยากได้สิ่งของมากมาย และมักจะคิดหาเหตุผลดี ๆ เพื่อบอกว่ามันเป็นของที่ต้องมี ดังนั้น การทำความเข้าใจระหว่างความจำเป็น (Needs) กับความต้องการ (Wants) จึงสำคัญ การเข้าใจและฝึกฝนเพื่อให้รู้ว่ามันจำเป็นต้องซื้อจริง ๆ หรือเป็นแค่ความต้องการที่เราอยากจะได้เฉย ๆ จะช่วยให้เรามีภูมิต้านทานที่ดีเกี่ยวกับการใช้เงิน และมันจะส่งผลดีต่ออนาคต เพราะมันจะช่วยป้องกันไม่ให้เราเป็นหนี้จากความฟุ่มเฟือยได้
2. ใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่ได้รับ
ข้อนี้อาจจะเหมือนง่าย แต่หลายคนก็ยังทำไม่เคยได้ เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้เราใช้เงินได้อย่างลงตัวจนถึงสิ้นเดือนก็คือการทำบันทึกรายรับรายจ่ายและวางแผนการใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า เช่น ได้ค่าขนมเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรใช้เงินไม่เกินวันละ 300 บาท เป็นต้น การใช้จ่ายให้น้อยกว่าที่ได้รับจะช่วยให้เรามีเงินเก็บออม และสามารถนำไปลงทุนเพื่ออนาคตได้
3. บันทึกค่าใช้จ่ายและตั้งงบประมาณ
การทำบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรามีวินัยทางการเงินที่ดีมาก การทำบันทึกรายรับรายจ่ายมักทำควบคู่ไปกับการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยให้กำหนดว่าในแต่ละเดือนจะใช้จ่ายกี่บาทไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นเดือน เช่น ได้ค่าขนมเดือนละ 10,000 บาท จะใช้จ่ายตลอดทั้งเดือนนี้ไม่เกิน 8,000 บาท และอีก 2,000 บาท จะเก็บออม เป็นต้น
4. เรียนรู้และเริ่มต้นลงทุน
แน่นอนว่าการมีเงินเก็บไว้ในบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ดอกเบี้ยที่เราได้รับอาจไม่คุ้มค่าเท่าไหร่ ลองศึกษาวิธีการลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง แล้วลองเริ่มต้นลงทุนดู โดยอาจวางแผนว่าจะให้เงินลงทุนนี้เป็นเงินสำหรับเก็บออมตอนเกษียณอายุก็ได้
5. เข้าใจหนี้ดีกับหนี้เสีย
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนี้ประเภทต่าง ๆ นั้นจำเป็น แม้ว่าหนี้สินทั้งหมดจะต้องชำระคืน แต่หนี้ประเภทหนึ่งสามารถขับเคลื่อนให้เรามีอนาคตที่ดีหรือเติบโตได้ อย่าง ‘หนี้ดี’ คือ เงินที่ยืมมาเพื่อช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย เช่น เงินกู้นักเรียนถือเป็นหนี้ดีที่จะช่วยให้เราเรียนจบเพื่อนำไปสู่การหางานทำในอนาคตได้ ส่วน ‘หนี้เสีย’ นั้นควรหลีกเลี่ยง เพราะมักจะมีอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น การใช้จ่ายบัตรเครดิตเพื่อซื้อของที่อยากได้ ซึ่งมักจะเป็นการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น
6. รู้เรื่องเครดิตบูโร
เมื่ออายุมากขึ้นหรือเริ่มทำงาน เราก็จะสามารถเปิดบัตรเครดิตหรือกู้เงินต่าง ๆ ได้ การรู้จักเครดิตบูโรจึงสำคัญ เพราะเครดิตบูโร หรือบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันการเงินและบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร เช่น เราเปิดใช้งานบัตรเครดิต แต่ค้างชำระหนี้ที่ต้องจ่ายตลอดจนเจ้าหน้าที่ต้องโทรทวงถาม หากเคยมีประวัติค้างชำระหนี้อยู่ในข้อมูลของเครดิตบูโร ก็อาจส่งผลต่อเครดิตทางการเงินของเราได้ เมื่อเราอยากจะกู้เงินซื้อบ้าน หรือกู้เงินก้อนใหญ่ ทางธนาคารก็จะนำข้อมูลในส่วนนี้มาพิจารณาก่อนจะอนุมัติเงินกู้ให้กับเรา ถ้าหากเรามีเครดิตบูโรที่ไม่ดีก็อาจไม่ผ่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
• รู้จักกฎ 50/30/20 วิธีวางแผนการเงินที่จะทำให้มีเงินเก็บ
• สร้างวินัยทางการเงินตั้งแต่วัยรุ่น ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินได้
• 9 ความรู้ทางการเงินที่จะช่วยให้เก็บออมได้มากขึ้น
• คุณเป็นคนที่มีความฉลาดทางการเงินพอหรือเปล่า ?
• เรียนรู้วิชาการเงินผ่าน 5 พอดแคสต์การเงินฟังง่าย
• รวมความรู้ทางการเงินที่วัยรุ่นควรรู้ก่อนเรียนจบ #อายุน้อยก็รวยได้
• เทคนิคเก็บเงินสำหรับวัยรุ่นวัยเรียน เป๋าตังค์ตุงได้แบบไม่ต้องอด
• รวมไอเดียเก็บเงินที่วัยรุ่นวัยเรียนทำได้จริง ไม่ยากเลย !
• ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม อยากขอทุนเพื่อส่งตัวเองเรียนต้องทำยังไง ?
• แนะนำวิชาน่าเรียนที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่มีเรียนบนโลกออนไลน์ฟรี
• รู้เท่าทันภัยทางการเงินที่อาจทำให้เราหมดตัวได้ !
• เพราะชีวิตต้องใช้เงิน การลงทุนตั้งแต่วัยรุ่นจึงสำคัญ
• เทคนิคการเก็บเงิน ตามแบบฉบับคนที่จนที่สุดในโลก
• เทคนิคเก็บเงินไปลงทุนไม่ให้ช็อต ฉบับคนงบน้อยแบบไม่ทรมานตัวเอง
• รวม ‘กองทุนรวม’ สำหรับคนงบน้อย เริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 1 บาท
• The Psychology of Money จิตวิทยาการเงินที่จะทำให้เรามั่งคั่งร่ำรวย !
• Teen’s Life คู่มือวางแผนชีวิตสำหรับวัยรุ่น
• Kakeibo เทคนิคการออมเงินที่แสนเรียบง่ายของคนญี่ปุ่น
แหล่งข้อมูล
10 Essential Financial Lessons For Teens