นักระบาดวิทยาภาคสนาม เป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ โดยหน้าที่หลักของนักระบาดวิทยาภาคสนาม คือ สืบสวนสอบสวนโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมีสัญญาณของโรคเกิดขึ้น จะต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บสถิติ ตัวอย่างเชื้อ สารคัดหลั่ง และนำมาวิจัยเพื่อดูการกระจายตัวของโรค ศึกษาหาที่มาของโรคและสาเหตุของโรคนั้น ๆ พร้อมหาแนวทางป้องกัน ควบคุมโรค และลดอัตราการเสียชีวิต
คุณสมบัติที่เหมาะสม
- ชอบและมีความเข้าใจในการทำงานรูปแบบภาคสนาม
- มีความสามารถและชอบในการทำงานด้านการสืบสวนโรค
- ช่างสังเกต แม้จุดเล็กจุดน้อย แต่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับต้นตอของโรคได้
- มีจรรยาบรรณทางการแพทย์
ทักษะที่ควรมี
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
- ทักษะการสื่อสาร และจิตวิทยาการสื่อสาร
- ทักษะด้านการใช้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
- ทักษะการวิจัย
- ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ
นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางคือผู้ที่คอยค้นคว้า วิจัย พัฒนา เครื่องสำอาง ครีม แชมพู สบู่ และอื่น ๆ เพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน หน้าที่ส่วนใหญ่คือการทำวิจัย คิดค้นสูตรทำเครื่องสำอางใหม่ ๆ หรือพัฒนานวัตกรรมรวมไปถึงการตรวจสอบสิ่งปลอมปนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
คุณสมบัติที่เหมาะสม
- สนใจด้านสุขภาพความงาม
- ขยันศึกษาหาความรู้
- ช่างคิด ช่างสังเกต
- มีความอดทนสูง
- ละเอียดรอบคอบ
ทักษะที่ควรมี
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล
- ทักษะทางคณิตศาสตร์
- ทักษะด้านเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ (Lab)
- ทักษะด้านภาษา
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการจัดการเวลา
- ทักษะด้านแบรนด์และการวางแผนการตลาด
นิติวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ในการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปช่วยในการไขคดี โดยการเก็บหลักฐาน ตรวจร่างกาย และวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ เช่น ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เลือด ฉี่ เส้นผม อสุจิ เส้นใยต่าง ๆ หรือเหงื่อ
คุณสมบัติที่เหมาะสม
- มีความละเอียดถี่ถ้วน
- มีความถูกต้องแม่นยำ
- มีความเที่ยงธรรม
- ช่างคิด ช่างสังเกต
ทักษะที่ควรมี
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการใช้ห้องปฏิบัติการ (Lab)
- ทักษะการวิจัย
- ทักษะทางนิติศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสำรวจหาและช่วยพัฒนาแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม การสำรวจหาปิโตรเลียมในขั้นตอนของนักธรณีวิทยาจะเริ่มตั้งแต่พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่คาดว่าจะมีศักยภาพของทรัพยากรปิโตรเลียม และจัดทำแผนที่ใต้ผิวดินเพื่อแสดงตำแหน่งโครงสร้างแหล่งกักเก็บต่าง ๆ พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่งและแนวทางของหลุมเจาะศึกษาชั้นหินและตรวจสอบคุณสมบัติ นอกจากนี้จะต้องนำข้อมูลที่ได้มาประกอบกับข้อมูลการวัดความไหวสะเทือน เพื่อจัดทำแผนที่ของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน
คุณสมบัติที่เหมาะสม
- มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
- ชอบทำงานกลางแจ้ง ออกทำงานภาคสนาม
- มีความสามารถพื้นฐานในการออกภาคสนามเป็นเวลายาวนาน
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
- ช่างสังเกต
ทักษะที่ควรมี
- การคิดเชิงวิพากษ์
- การสื่อสาร
- การแก้ปัญหาตัดสินใจ
นักวิศวกรชีวการแพทย์ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่สนับสนุนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นด้านเครื่องมือแพทย์หรือด้านงานวิจัย และยังมีหน้าที่ออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อน และมีการนำมาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
คุณสมบัติที่เหมาะสม
- ขยัน อดทน
- มีความละเอียดรอบคอบ
- หัวไว เรียนรู้เร็ว ชอบหาความรู้
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะที่ควรมี
- ทักษะด้านภาษา
- ทักษะการจัดการเวลา
- ทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- ทักษะด้านการสื่อสาร
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะด้านคณิตศาสตร์
จะเห็นได้ว่า แต่ละอาชีพที่ยกตัวอย่างมานั้นมีความสอดคล้องกับเทรนด์การทำงานในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นการเรียนหรือเลือกทำอาชีพที่สอดคล้องกับเทรนด์งานในอนาคต จะมีข้อดีอย่างหนึ่งคือสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องได้เปรียบ และเป็นตัวการันตีได้ในอีกขั้นว่าเราจะได้งานที่มั่นคงทำในระยะยาวอย่างแน่นอน
แหล่งข้อมูล
- รู้จักอาชีพ | true ปลูกปัญญา
- เรียนจบ ไม่ตกงานแน่นอน 10 อาชีพด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศไทยขาดแคลนหนัก
- 12 อาชีพ สายวิทย์สุขภาพ ยอดนิยม
- เท่จัง ‘นักนิติวิทยาศาสตร์’ อาชีพที่ช่วยจับโจรในหลายคดีดัง
- ทางเลือกวิชาชีพในการเข้าสู่วงการปิโตรเลียม