เมแทบอลิซึมคือ ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ที่เปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงาน ร่างกายของเราต้องการพลังงานนี้เพื่อทำสิ่งต่าง ๆ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. แคทาบอลิซึม คือ การสลายตัวของโมเลกุลเพื่อให้ได้พลังงาน ที่ให้ความร้อนแก่ร่างกาย และช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวและร่างกายเคลื่อนไหวได้
2. แอนาบอลิซึม คือ การสังเคราะห์สารประกอบที่เซลล์ต้องการ ซึ่งโมเลกุลขนาดเล็กจะเปลี่ยนเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้นอย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน และนำไปเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ
ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อหลายชนิดช่วยควบคุมทิศทางและอัตราเมแทบอลิซึม เช่น ไทรอกซิน (Thyroxine) เป็นฮอร์โมนที่สร้างและหลั่งจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่กำหนดความเร็วหรือช้าของปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการเมแทบอลิซึม หรือตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเมื่อระดับกลูโคสในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณให้เซลล์เพิ่มกิจกรรมแอนาบอลิก