TGAT/TPAT ข้อสอบปรับใหม่สำหรับใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ที่เริ่มปรับตั้งแต่ปรการศึกษา 2566 เป็นต้นไป ข้อสอบ TGAT/TPAT คืออะไร มีวิชาอะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกันเลย
TGAT ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test คือการสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป
มีกรอบการวัดเนื้อหาทั้งหมด 3 Part ดังนี้
1. English Communication การสื่อสารภาษาอังกฤษ
2. Critical and Logical Thinking การใช้เหตุผลเชิงปริมาณและการคิดอย่างมีตรรกะ
3. Future Workforce Competencies สมรรถนะในการทำงานอนาคต
• การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
• การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
• การบริหารจัดการอารมณ์
• การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม
TGAT มีคะแนนเท่าไหร่
• TGAT มีคะแนนเต็ม 300 คะแนน Part ละ 100 คะแนนเท่ากัน
TPAT ย่อมาจาก Thai Professional Aptitude Test คือการสอบวัดความถนัดวิชาชีพ
TPAT มีทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่
• TPAT 1 ความถนัดทางแพทยศาสตร์ (เดิมคือวิชาเฉพาะ กสพท. รวมทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์) ข้อสอบแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
• TPAT 2 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (เหมือนเดิม)
• TPAT 3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (ไม่ใช่การสอบวัดความรู้ด้านฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาแบบเดิม แต่เป็นการเน้นวัดความถนัดทางวิชาชีพจริง ๆ)
• TPAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม (ไม่มีสอบวาดรูป)
• TPAT 5 ความถนัดทางครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ (เหมือนเดิม)
TPAT มีคะแนนเท่าไหร่
• TPAT มีคะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
คะแนน TGAT/TPAT ใช้ทำอะไร
• คะแนน TGAT ถือว่าเป็นคะแนนหลักที่ใช้ในการสอบแข่งขันในระบบ TCAS ได้ทุกรอบ! ตามที่สาขากำหนด ซึ่งบอกเลยว่าเป็นคะแนนที่มีการใช้มากที่สุด ดังนั้นการเกาะติดและทำความเข้าใจกับข้อสอบส่วนนี้ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยของน้อง ๆ
• คะแนน TPAT สามารถใช้ในระบบ TCAS ได้ทุกรอบ แม้แต่รอบที่ 1 เพราะเป็นข้อสอบวัดความถนัดสามารถนำมาประกอบกับการพิจารณารอบ Portfolio ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคณะ/สาขาเป็นผู้กำหนด
ใครสอบ TGAT/TPAT ได้บ้าง
• ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / เทียบเท่า / เด็กซิ่ว เท่านั้น
• น้อง ๆ ม. 4 - 5 ไม่มีสิทธิ์สอบ!
• และข้อมูลล่าสุดคือ ให้สอบปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
• คะแนนนี้จึงมีอายุเพียงแค่ 1 ปี